วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระกริ่ง

พระกริ่ง คือจักรพรรดิแห่งพระหล่อโลหะ เป็นองค์แทนของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน ที่เชื่อกันว่า อานิสงส์ของการบูชาพระกริ่งพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าดังนี้

" ผู้ใดก็ดี ได้บูชาพระองค์ด้วยความเคารพเลื่อมใสแล้ว ก็จักเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปราศจากภัยบีฑา ไม่ฝันร้าย ศาสตราวุธ สัตว์ร้าย โจรภัย ยาพิษทั้งปวง ทำอันตรายมิได้ "

ความนับถือองค์พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า(พระกริ่ง ) ได้เริ่มต้นจาก จีน ธิเบต และได้ถูกเผยแพร่ ผ่านมายังญี่ปุ่น เกาหลี ไทย เวียดนาม และ เขมร ตามเส้นทางการเผยแพร่พุทธศาสนานิกายมหายาน
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จึงได้เริ่มมีการสร้างพระกริ่งปทุมของเขมรขึ้น ซึ่งกรรมวิธีและพิธีการในการสร้างพระกริ่งนั้น จัดเป็นการผสมผสาน เอา สุดยอดแห่งศาสตร์และศิลป์ ของไสยเวทย์ และ พุทธาคมเข้าด้วยกัน ,โดยจะต้องเริ่มต้นจากการจัดเตรียมมวลสารโลหะ ที่จะต้องนำมาลงยันต์ ๑๐๘ และ ปถมัง ๑๔ นะ แล้วจึงนำมาหลอม แล้วรีด จึงนำมาลงยันต์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ภายใต้ฤกษ์ยามที่ได้ถูกคำนวนไว้อย่างเคร่งครัดในการหล่อและพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง และยังต้องปั้นหุ่นและเตรียมเม็ดกริ่ง ในองค์พระกริ่ง ซึ่งในกาลต่อมาเมื่อสืบทอดมาถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ท่านได้รับสั่งว่า "กริ่ง" มาจากคำบาลี "กึ กุสโล " แปลว่าดับสนิทถึงพระนิพพาน นั้นเอง เพื่อเป็น สัญลักษณ์ แห่งพุทธภาวะ อันมีคุณลักษณะ อนาทิ จึงได้ทำเป็นเม็ดโลหะกลมบรรจุไว้ภายในองค์พระกริ่ง เมื่อเขย่าองค์พระได้ยินเสียงกริ่ง ก็จะเป็นกุศโลบายให้เจริญจิตอันเป็นสมาธิ ให้เข้าถึงพระนิพพาน และ อีกนัยหนึ่งเมื่อได้ยินเสียงกริ่ง ก็เท่ากับได้สดับพระนามของพระองค์ เพื่อยังความสวัสดีให้กับผู้ได้ฟังเสียงนั้น

พระคาถามหาธารณี (บูชาพระกริ่ง )
นะโม ภะคะวะเต ไภษัชยะคุรุ ไวฑูรยะประภาราชายะ ตะถาคะตะยาระทะเต สัมยาสัม พุทธายะ โอมไภเษชเย ไภเษชยะ สะมุรคะเต สวาหะ

ในหมวดนี้ จึงได้รวบรวมพระกริ่งทั้งพระกริ่งจีน , พระกริ่งไทย , พระกริ่งธิเบต , พระกริ่งเขมร มาเพื่อการศึกษาและสะสมของท่านผู้สนใจ (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในส่วนของบทความ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น