วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

ลงเหรียญ

พระเครื่อง ,พระเหรียญบูชา , .

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระเครื่อง , พระเหรียญบูชา ได้ที่หน้า บทความ .


BUDDHA IMAGE , BUDDHA AMULET , BUDDHA COIN .

FOR FURTURE INFO. ABOUT BUDDHA IMAGE , BUDDHA AMULET , BUDDHA COIN ,PLEASE FIND

FROM ARTICLE.

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552

ลงพลอย

เครื่องประดับ , จิวเวลรี่ ,อัญมณี , พลอยสวย , พลอยร่วง , .

ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เครื่องประดับ , จิวเวลรี่,อัญมณี , พลอยสวย , พลอยร่วง ได้จากหน้าบทความ.


JEWELRY , JEWELLERY , GEMSTONE , LOOSE STONE , .

FOR YOUR FURTURE INFO. ABOUT JEWELRY , JEWELLERY , GEMSTONE , LOOSE STONE ,

PLEASE FIND FROM ARTICLE .

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

ลงเครื่องประดับ

เครื่องประดับ ,จิวเวลรี่ , พลอยสวย ,พลอยร่วง , .

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องประดับ,จิวเวลรี่, พลอยสวย พลอยร่วง ได้ที่หน้า บทความ .


JEWELRY ,JEWELLERY ,GEMSTONE , ACCESSORY ,LOOSE STONE , .


FOR FURTURE INFO. ABOUT JEWELRY ,JEWELLERY ,GEMSTONE , ACCESSORY ,LOOSE

STONE ,PLEASE FIND FROM ARTICLE .

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

ลงของเก่าโบราณ , ของเก่า , ของสะสม

ของเก่าโบราณ , ของเก่า , ของสะสม ,

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับของเก่าโบราณ , ของเก่า , ของสะสม , ได้ที่หน้าบทความ .


ANTIQUE , OLD ACCESSORY ,OLD COLLECTION ,

FOR FURTURE INFO. ABOUT ANTIQUE , OLD ACCESSORY , OLD COLLECTION , ,PLEASE

FIND FROM ARTICLE .

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

เครื่องรางของขลัง

เครื่องรางของขลัง , เครื่องราง , ตะกรุด ,แหวน

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกียวกับเครื่องรางของขลัง , ตะกรุด ,แหวน ได้ที่หน้า บทความ.

AMULET CHARMS , TA KRUD , RING

FOR FURTURE INFO. ABOUT AMULET CHARMS , TA KRUD , RING , PLEASE FIND FROM ARTICLE .

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

พระเครื่อง , พระเนื้อดิน

พระเครื่อง , พระกริ่ง เนื้อ .

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พระเครื่อง , พระกริ่ง ได้จากหน้า บทความ .


BUDDHA IMAGE ,PRA KRING .

FOR FURTURE INFO. ABOUT BUDDHA IMAGE,PRA KRING , PLEASE FIND FROM ARTICLE .

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

พระกษิติโพธิสัตว์ (พระมาลัย )
















地藏王菩萨 พระกษิติโพธิสัตว์ หรือพระมาลัย ท่านมีชื่อในภาษาบาลีว่า ksitigarbha ตามความเชื่อแบบมหายาน ท่านเป็นหนึ่งในแปดพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูง ถึงคุณธรรมของท่านที่มีความสงบไม่หวั่นไหว ดุจดั่งผืนแผ่นดิน และ ปัญญาไตร่ตรองอย่างละเอียดลึกซึ้งดุจแผนที่ขุมทรัพย์ จนเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาจีนกลางว่า 地藏 (ตี้จั้ง)
地 di (ตี้) หมายถึง ผืนแผ่นดิน
藏 zang (จั้ง) มาจากคำเต็มว่า 宝藏 baozang (เป่าจั้ง) หมายถึง ขุมทรัพย์ ,ทรัพย์สมบัติ
ตามบันทึกเล่าประวัติของท่านว่า ตั้งแต่ในอดีตชาติอันนานแสนนาน ในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้มีสตรีนางหนึ่งที่เป็นเดียรถีร์ นางมีแม่ที่ไม่เคยเชื่อเรื่องศาสนา และการทำความดีใด ๆ เอาแต่ก่อกรรมทำเข็ญ เมื่อตายไปแล้ว ก็ได้ไปเสวยผลกรรมอยู่ในนรก , ต่อมานางเดียรถีร์ผู้นี้ ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาพระศาสนาพุทธ นางก็ระลึกถึงมารดาของนางขึ้นมาได้ นางก็ทราบด้วยปัญญาว่าบัดนี้ มารดาคงต้องตกนรกอยู่เป็นแน่ ด้วยความเป็นห่วง นางจึงจัดการขายบ้านเรือนและทรัพย์สมบัติ เพื่อนำมาสร้างกุศล หวังที่จะช่วยมารดาของตน จนในที่สุด จึงได้ตั้งมหาปณิธานที่จะช่วยเหลือสัตว์โลกทั้งหลาย ที่ยังอยู่ในห้วงวัฏสงสาร ต่อหน้าพระพุทธเจ้าในยุคนั้นว่า " ไม่ว่าในชาตินี้ หรืออนาคตชาติอันมากมายไม่มีประมาณ ข้าฯขอตั้งมหาปณิธานที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ ที่กำลังได้รับความทุกข์เข็ญ ด้วยผลกรรมใด ๆ ให้ได้พ้นจากห้วงทุกข์ ในนรก ได้ไปสู่สุขคติ และถึงพระนิพพานเป็นที่สุด . "
ด้วยอานิสงค์แห่งมหาปณิธานของท่าน จึงทำให้ท่านได้มาเป็นพระกษิติโพธิสัตว์ ซึ่งรักษามหาปณิธานของท่าน จนมาเป็นโศลกอันเลื่องลือประจำองค์ว่า
" จะโปรดสัตว์โลกจนหมดสิ้น เพื่อเป็นประจักษ์พยานแห่งพุทธะจิต
ตราบใดที่นรกยังไม่ว่าง สาบานว่าจะไม่ยอมบรรลุพระนิพพาน "
ด้วยมหาปณิธานอันนี้ จึงทำให้ท่านใช้ฤทธิ์ไปแสดงธรรมโปรดสัตว์นรก เปรต อสุรกายอยู่ในนรก เชื่อกันว่าในยามที่ท่านไปอยู่ในนรกนั้น ด้วยฤทธานุภาพและบุญญานุภาพของท่าน เป็นอานิสงค์ ให้สัตว์นรกที่กำลังต้องทัณฑ์ทรมานอยู่ ได้พ้นจากความทรมาณเป็นการชั่วคราว .
ตามความเชื่อทางมหายานนั้น ได้มีการบันทึกไว้ว่า พระศรีศากยมุนี ได้ไหว้วานขอให้พระกษิติโพธิสัตว์ ได้ช่วยสั่งสอนชี้แนะพระธรรมแก่สัตว์โลก ในภพภูมิทั้งหก คือ นรก , สัมภเวสี , อสุรกาย ,สัตว์เดรัจฉาน ,มนุษย์ และเทวดา ในช่วงที่เป็นรอยต่อ หลังจากพระศรีศากยมุนีได้ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว และ พระศรีอาริยเมตไตรยังไม่มาโปรด.





วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552

ภาพถ่ายแสงจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

















































































ในบทนี้ ผมได้รวบรวมภาพถ่ายแสงจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ทั้งหลายในประเทศจีน เช่นตามวัดโบราณ ,เขาง่อไบ๊, และภูเขาโบราณอื่น ๆ ทั่วประเทศ
ที่มีคนไปถ่ายได้มาโดยบังเอิญ มาให้รับชมกัน .
ในที่นี้ ผม ไม่ขอออกความเห็นใด ๆ
แล้วแต่วิจารณญานของท่านผู้ชมจะดีกว่า
เพราะ " คำเดียวก็มากเกินไป " ที่จะบรรยาย .

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

ลงพระ

เทวรูป พระพิฆเนศวร์ ,พระคเนศ , พระพิฆเนศวร ,เทพแห่งความสำเร็จ ,เทพแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งปวง เนื้อทองเหลืองเก่า โลหะผสม .

พระพิฆเนศวร์ , พระคเนศ , เทพแห่งความสำเร็จ ,เทพแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งปวง ท่านเป็นเทพที่มีผู้ให้ความเคารพนับถือ ด้วยคุณธรรมประจำองค์ท่านเอง , แม้แต่องค์พระศิวะมหาเทพผู้สร้างและพระบิดาแห่งองค์พระพิฆเนศวร์ยังกล่าวว่า ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใดหรือทำพิธีบูชาใด ให้ทำการบูชาพระพิฆเนศวร์ ก่อนกระทำการทั้งปวง “ผู้ใด ต้องการความสำเร็จ ให้บูชาพระพิฆเนศวร์” “ผู้ใด ต้องการพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง ให้บูชาพระพิฆเนศวร์”


ท่านสามารถอ่านข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเทวรูป พระพิฆเนศวร ,พระพิฆเนศวร์ ,เทพแห่งความสำเร็จ , เทพแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งปวง ได้ที่หน้าบทความ.




DEVA ROOPA , GANESH , THE GOD OF SUCCESS ,OLD BRONZE ALLOY .

GANESH IS THE MOST POPULAR GOD IN THAILAND , BECAUSE OF HIS KINDNESS AND MORALITY ,EVEN THE SIVA GOD ALSO GIVE HIM A VERY HIGH RESPECT AS THE GOD OF SUCCESS & THE GOD OF TROUBLE SHOOTING .


FOR FURTURE INFO. ABOUT DEVA ROOPA , GANESH , PLEASE FIND AT ARTICLE.

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

ภควัทคีตา (๑)


เธอมีสิทธิ์ที่จะทำงานแต่เพียงตามหน้าที่เท่านั้น ,เธอไม่มีสิทธิ์ในผลของงาน
ความปรารถนาในผลของงาน,ไม่ควรเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เธอทำงาน
ในขณะเดียวกัน, ก็ไม่ควรเกียจคร้านที่จะทำงาน
จงปฏิบัติงานทั้งปวงด้วยใจที่ไม่พะวงถึงผลของมัน
จงทำใจยอมรับทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว
การทำใจรับได้เสมอกันเช่นนี้เรียกว่า " โยคะ "
ผู้ที่รู้แจ้งตามความเป็นจริง,ย่อมละวางจากผลของการกระทำ "กรรม"
เขาย่อมหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งการเกิด ,หลุดพ้นจากภาวะแห่งทุกข์ทั้งปวง
ผู้ที่มีใจไม่หวั่นไหวในยามทุกข์ , ไม่หลงระเริงในยามสุข ,
ละแล้วซึ่งความโกรธและความโลภ ,ไม่หลงในราคะ , ไม่หวาดกลัว
เขาผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาตั้งมั่น

ไฉ่ซิงเอี้ย - ท้าวเวสสุวรรณ - เทพเจ้าแห่งโภคทรัพย์ -财神-GOD OF WEALTHY


财神爷 ไฉ่ซิงเอี้ย GOD OF WEALTHY

ไม่โกรธ



โศลก " ไม่โกรธ "

ชีวิตคนเรา....เหมือนละครหนึ่งบท , มีวาสนา...จึงได้มาพบพาน

ได้อยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า...ไม่ใช่เรื่องง่าย , ใย....ไม่รู้คุณค่า

หากโกรธกัน...ด้วยเรื่องเล็กน้อย , ไตร่ตรองดูว่า...เพื่ออะไร

ผู้อื่นโกรธไป ..เราไม่โกรธ , โกรธจนเจ็บป่วย...ได้อะไร

โกรธจนตัวตาย...ใครสมหวัง , ทั้งทำร้ายตัว ... ทั้งเหน็ดเหนื่อย

ไม่ต้องเอาตัว...เทียบกับผู้อื่น , ลูกหลานกลุ้มใจ ... ปล่อยเขาไป

ชีวิตเดิมที ... มีสุขทุกข์ , เพียงทำใจได้ ... ก็สุขใจ

สุดแต่วาสนา


วาสนานั้น เกิดจากใจ
ไม่ว่าจะเป็นไปเช่นไร เราก็หาหวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหว ก็จะไม่มีที่ขัดข้อง
เมื่อไม่ขัดข้อง ก็สุดแต่วาสนา

พระโพธิสัตว์ 1


ภาพพระโพธิสัตว์แห่งแดนตะวันตก

เมื่อเอ่ยพระนามด้วยศรัทธา

ผู้นั้นย่อมสามารถล่วงทุกข์ไปได้


วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประทานพร

หนึ่งเมฆา หนึ่งบุปผา หนึ่งพุทธะ
ทรงประทานพรให้สรรพสัตว์ถึงซึ่ง

สะอาด สว่าง สงบ





วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

กวีธรรม๒



ในบุปผานั้น มีทั้งโลกา

แม้นต้นหญ้าไซร้ ก็มีสรวงสวรรค์

ใบไม้หนึ่งใบ มีพุทธะจิต

แม้นทรายหนึ่งเม็ด ก็มีพระนิพพาน

ในทิศาทั้งสิบ มีแดนอันบริสุทธิ์

แม้นรอยยิ้มนั้น ก็ยังแฝงบุญวาสนา

ปัญญาอันเป็นเอก ท่ามกลางความสงบ

บทกวีธรรมมะ๑


บัวขาวกลาง...บึงน้ำ
ในยามเช้า...อันหนาวเหน็บ
ระยิบระยับ...พร่างพราวแสง
ค่อยเผยอกลีบ...เบ่งบาน

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

เจ้าแม่กวนอิม ตอน ๒




พระมหากรุณาธิคุณในความเมตตาต่อปวงสรรพสัตว์อันไม่มีประมาณ
พระปัญญาคุณในการตัดกิเลสอันได้แก่ความโลภความโกรธความหลงให้สิ้น
พระบริสุทธิคุณในการรักษาศีลและทำจิตให้ผ่องแผ้ว





หนึ่งภาพ หนึ่งโคลง หนึ่งใจ ไร้วาจา




วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

พระสังกัจจายน์

ประวัติโดยย่อของพระสังกัจจายน์ สามารถอ่านได้ในหน้า " พระปิดตา " ในที่นี้จักได้ขยายความเพิ่มเติมจากส่วนก่อนดังนี้
๑.เรื่องการอธิษฐานแปลงรูปของพระสังกัจจายน์
จาก (อรรถกถาธรรมบท) ได้มีเรื่องราวดังนี้ว่า ได้มีบุตรเศรษฐีท่านหนึ่งแห่งเมืองโสเรยยนคร ขื่อ “โสเรยยะ” วันหนึ่งได้เห็น พระสังกัจจายน์ผู้มีรูปงามดุจทองคำ ก็เกิดจิตปฏิพัทธ์หลงใหลรูปกายอันงดงามงามของท่าน จึงคิดอกุศลจิตกำหนดให้ท่านเป็นหญิง แล้วลวนลามทางจิตด้วยความคึกคะนอง ด้วยจิตทีคิดพิเรนทร์ต่อพระอรหันต์สังกัจจายน์มหาเถระเจ้า บุตรเศรษฐีโสเรยยะที่เป็นชาย ก็ได้กลับกลายเป็นเพศหญิง มีอวัยวะของสตรีครบสมบูรณ์ประหนึ่งหญิงแท้ ๆ ด้วยความอับอาย บุตรเศรษฐีโสเรยยะ จึงได้หนีไปอยู่เมืองอื่น จนได้สามีและมีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาภายหลังได้จึงได้กลับมาขอขมาท่านสังกัจจายน์มหาเถระเจ้า จึงได้กลับรูปเป็น ชายตามเดิม แม้แต่อุบาสิกาที่เป็นหญิง ก็มีไม่น้อยที่หลงไหลในรูปกายอันงดงามของท่าน จนเกิดทะเลาะวิวาทเป็นเนือง ๆ จึงเป็นเหตุให้พระสังกัจจายน์ ต้องตัดสินใจอธิษฐานเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นรูปอ้วนพุงพลุ้ย แต่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา
๒.พระสังกัจจายน์ - ทรงเป็นภิกษุที่อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
เดิมท่านเป็นบุตรพราหมณ์ปุโรหิต กัจจายนโคตร ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นได้เรียนจบไตรเพท ครั้นบิดาเสียชีวิตแล้ว ก็ได้รับตำแหน่ง ปุโรหิตแทนบิดา
กาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า ได้บังเกิดพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ขึ้นในโลกแล้ว และเสด็จไปสั่งสอนพระธรรมอันล้ำค่าแก่ประชาชน ธรรมที่พระองค์สั่งสอนนั้นเป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ให้สำเร็จ แก่ผู้ประพฤติปฎิบัติตาม จึงทรงมีพระราชประสงค์จะเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมศาสดา ไปประกาศพระศาสนาที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้ กัจจายนะปุโรหิต ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เรียนจบไตรเพท ไปทูลเชิญเสด็จ ท่านกัจจายนะปุโรหิต ซึ่งมีความศรัทธาในศาสนาพุทธอยู่เป็นทุนเดิม จึงถือโอกาสทูลลาบวชด้วย ครั้นได้พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกจากกรุงอุชเชนี พร้อมด้วยบริวาร 7 คน รอนแรมมาถึงยังที่ประทับของพระบรมศาสดา ก็พากันเข้าเฝ้า ฟังพระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาสั่งสอน ในที่สุดทั้ง ท่านกัจจายนะ และบริวารทั้ง 7 ก็ได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมกัน แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดา ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ท่านพระสังกัจจายน์มหาเถระ จึงทูลเชิญอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เสด็จโปรด ชาวอุชเชนี ตามพระประสงค์ของ พระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดารับสั่งว่า" ท่านไปเองเถิด เมื่อไปแล้ว พระจัณฑปัชโชต และชาวเมืองจะเลื่อมใส " ด้วยเหตุนี้ พระสังกัจจายน์มหาเถระ จึงถวายบังคมลาเดินทางกลับ สู่กรุงอุชเชนี แล้วจึงได้บรรยายธรรมประกาศพระพุทธศาสนาให้ พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองเกิดความเลื่อมใส ปวารณาตัวเป็นพุทธมามกะ แล้วกลับคืนมายังสำนักพระบรมศาสดา สมดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้ทุกประการ
๓.พระสังกัจจายน์ -ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอกทัคคะในการขยายความธรรมมะ
ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตร แต่โดยย่อท่ามกลางคณะสงฆ์ โดยแสดงธรรมว่า
" ผู้มีปัญญาไม่ควรคิดตาม คิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ,ไม่ควรจะมุ่งหาสิ่งที่ยังมาไม่ถึง , เพราะว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว , สิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ไม่ได้ไม่ถึง, ผู้ใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้งรู้ธรรมนั้นแล้ว พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจักมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชที่มีเสนาใหญ่นั้นไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ เรียกว่า ผู้มีราตรีเดียว"
ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จลุกไปสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่เข้าใจ และไม่มีโอกาสที่จะทูลถาม ความที่พระองค์ตรัสโดยย่อ นั้นให้กว้างขวางได้ จึงอาราธนาขอให้ พระสังกัจจายน์อธิบายให้ฟัง
ในกาลนั้นพระสังกัจจายน์ท่านอธิบายความว่า "ท่านผู้มีอายุ เรารู้ความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อนั้นตามความพิสดารว่า เมื่อบุคคลคิดว่า ในกาลล่วงแล้ว ตากับรูป ,หูกับเสียง, จมูกกับกลิ่น, ลิ้นกับรส, กายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ,ใจกับอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรามีแล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ เพราะวิญญาณ อันความกำหนัดพอใจ ผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ,ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า คิดตามถึงสิ่งทึ่ล่วงมาแล้ว "
"ไม่คิดอย่างนั้นความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ก็ไม่ผูกพันวิญญาณได้ , ผู้นั้นก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ , ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่คิดตามถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว"
"บุคคล ผู้ตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้ ในสิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้า นัยน์ตากับรูป เป็นต้น ของเราจะเป็นอย่างนี้ ,เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัย ,ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ , ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า มุ่งหมาย สิ่งที่ยังมาไม่ถึง "
"บุคคลผู้ไม่ได้ตั้งจิตเพื่อจะหมายสิ่งใด สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น ก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ,ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่มุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้ว"
"นัยน์ตากับรูปอย่างละสองอันใด เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ,ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ผูกพันวิญญาณไว้แล้ว , บุคคลก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ , ผู้เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดเฉพาะหน้า "
"ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้ ,บุคคลก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า "
"ท่านผู้มีอายุ เราเข้าใจในเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อ ตามความพิสดารอย่างนี้ , ถ้าท่านทั้งหลายประสงค์ ก็จงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามความนั้นเถิด พระองค์ทรงเล่าอย่างไร จงจำไว้อย่างนั้นเถิด " ภิกษุเหล่านั้น ได้พากันลา พระสังกัจจายน์ มาเข้าเฝ้าพระศาสดาทูลความนั้นให้ทรงทราบ พระองค์จึงทรงตรัสสรรเสริญ พระสังกัจจายน์ ว่า "ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะเป็นผู้มีปัญญา , ถ้าท่านถามความนั้นกับเรา แม้เราก็คงเล่าเหมือนกัจจายนะ เล่าอย่างนั้น ความของธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้น อย่างนั้นแล ท่านทั้งปวงจำไว้เถิด " ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงได้รับ การยกย่องจากพระศาสดาว่า พระสังกัจจายน์ ทรงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย เป็นเอกทัคคะในการอธิบายความย่อให้พิสดาร
๔.พระสังกัจจายน์ ทูลขอพุทธานุญาต ให้แก้ไขพระธรรมวินัย
พระสังกัจจายน์
ผู้ทรงปัญญาและมีความกล้าหาญ - ธรรมวินัยใด ที่ขัดต่อภูมิประเทศ ไม่สะดวกที่สงฆ์จะปฏิบัติตาม ได้ยังความลำบากแก่การปฏิบัติแล้ว ท่านก็จะทูลชี้แจง ขอพุทธานุญาต ให้แก้ไขให้เหมาะสม ให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
เช่นครั้งหนึ่งท่านไปพำนักแสวงหาวิเวกอยู่ ณ. ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุธฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท อุบาสกผู้เป็นอุปัฎฐากของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า โสณกุฎิกัณณะ มีความประสงค์จะบวชในธรรมวินัย แต่ก็ยังบวชไม่ได้ ได้แต่เพียงแต่บรรพชาเป็นสามเณรเท่านั้น เวลาล่วงไปถึง 3 ปี จึงมีโอกาสอุปสมบทได้ เพราะในอวันตีทักขิณาปถชนบทนั้น หาภิกษุเป็นคณะครบองค์ไม่ได้ (10 รูปขึ้นไป)
เมื่อท่านโสณกุฏิกัณณะอุปสมบทแล้ว มีความปรารถนาจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงไปลาพระสังกัจจายน์ ผู้อุปัชฌาย์ ท่านจึงอนุญาตแล้ว สั่งให้ไปถวายบังคมพระบาทตามคำของท่าน โดยให้ทูลขอให้พระพุทธองค์องค์ ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ซึ่งขัดต่ออวันตีชนบท 5 ข้อ ด้วยกันคือ
๑.ในอวันตีทักขิณาปถชนบทมีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะน้อยกว่า 10 รูป ซึ่งก็ได้รับการอนุญาตให้เหลือเพียง 5 รูป
๒.เนื่องด้วยในชนบททั่วไป มีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ไม่สะดวกต่อการเดินทาง ,พระภิกษุในชนบทได้รับความลำบากมากนัก ขอพุทธานุญาตให้ภิกษุใส่รองเท้าเป็นชั้น ๆ ในชนบทชายแดนได้ พระองค์ก็ทรงอนุญาต
๓.พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขออนุญาตพระภิกษุอาบน้ำเป็นนิตย์เถิด พระองค์ก็ทรงอนุญาติ
๔.ในชนบทนั้นมีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังแพะ หนังแกะบริบูรณ์ดีในชนบทหาได้ง่ายกว่าอย่างอื่น ขอให้ภิกษุใช้หนังแพะ หนังแกะเป็นเครื่องลาดได้ในชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตตามนั้น
๕.ในการที่มนุษย์ถวายผ้าจีวรแก่ภิกษุก็เช่นกัน เมื่อภิกษุไม่อยู่เขามาถวายฝากไว้ เมื่อเธอกลับมา ภิกษุที่ รับฝากไว้แจ้งให้เธอทราบ เธอรังเกียจไม่ยินดีรับ เพราะล่วง 10 ราตรีแล้ว เข้าใจว่าเป็นอาบัตินิสสัคคิยะ จำต้องสละผ้านั้น เป็นการลำบากสำหรับชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตว่า เราอนุญาต ให้พระภิกษุรับผ้าที่เขาถวายลับหลังได้ ผ้ายังไม่ถึงมือเธอเมื่อใด จะถือว่าเธอมีสิทธิ์เต็มที่ไม่ได้ตราบนั้น

๕. พระสังกัจจายน์ - เรื่องความเสมอภาคแห่งวรรณะทั้ง ๔
เมื่อครั้ง พระสังกัจจายน์อยู่ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร เสด็จไปหา แล้วตรัสว่า " ข้าแต่ท่าน พระกัจจายนะ ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ถือว่า พวกเขาเป็นผู้ประเสริฐบริสุทธิ์เกิดจากพรหม ท่านเข้าใจว่าอย่างไร ? "
พระสังกัจจายน์ ทูลตอบว่า วรรณะสี่เหล่าไม่ต่างกันดังนี้
"ในวรรณะสี่ เหล่านี้ วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งคั่ง ไม่ว่าวรรณะเดียวกันหรือวรรณะอื่น ย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรรณะนั้น ,
วรรณะใดประพฤติ อกุศลกรรมบท เบี้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่ อบาย เสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ,
วรรณะใดประพฤติ กุศลกรรมบท เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เหมือนกันหมด,
วรรณะใดทำ โจรกรรม ประพฤติล่วงเมียคนอื่น วรรณะนั้นต้องรับ อาชญา เหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น,
วรรณะใด ออกบวช ตั้งอยู่ในศีลธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับ ความนับถือ และได้รับ บำรุงและได้รับ คุ้มครองรักษาเสมอ กันหมดฯ "
ครั้นพระเจ้ามธุรราช ได้สดับแล้วก็เกิดความเลื่อมใส แสดงองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถระเจ้า กับ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ , พระเถระทูลห้ามว่า อย่าถึงท่านเป็นสรณะเลย , จงถึงพระผู้มีพระภาคผู้เป็นสรณะ ของอาตมาภาพ เป็นสรณะเถิด.
พระเจ้ามธุรราช ตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ,พระสังกัจจายน์ท่านทูลว่า พระผู้มีพระภาพเจ้า ปรินิพพานเสียแล้ว ,พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาพเจ้าประทับอยู่ที่ใด แม้ใกล้ไกลเท่าใด พระองค์คงจักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้, แต่เมื่อพระผู้มีพระภาพเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว , ข้าพระองค์ ขอถือพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานไปแล้วกับ พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง .

พระมหากัจจายน์ หรือพระสังกัจจายน์ ท่านเป็นผู้มีบุญญาบารมีอภินิหาร ทรงมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมเป็นที่รักใคร่แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย โบราณจารย์ท่านให้สวดคาถาบูชาระลึกถึงบารมีคุณของพระสังกัจจายน์ทุก ๆ วัน จะเกิดสิริมงคล เป็นที่รักใคร่แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีโชคลาภอยู่เสมอมิได้ขาด มีความสุขเจริญรุ่งเรืองด้วยโภคทรัพย์และทรัพย์สมบัติทั้งปวง จึงได้อัญเชิญพระคาถาบูชาพระสังกัจจายน์มาดังนี้
กัจจายนะจะ มหาเถโร พุทโธ พุทธานัง
พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา สิตัง
พุทธะตัง สะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง
ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม
ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง
สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา
ราชาภาคินี จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ


วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

ข้อความลงในหมวดเกี่ยวกับเรา



สวัสดีครับ

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

ผมอยู่ในจังหวัดเล็ก ๆ แห่งหนึ่งทางภาคเหนือ

ที่ ๆ ทุกอย่างดูจะสบาย ๆ , ที่นี่... อากาศเย็นสบายเกือบทั้งปี

แม้จะเกิดมาพร้อมกับใฝที่อุ้งเท้าประมาณ ๙ เม็ด (เพื่อนบอก)

ทำให้ชีวิตต้องเดินทางไปๆ มา ๆ , ไม่เคยได้อยู่นิ่งกับที่นาน ๆ เหมือนชาวบ้าน , และหมอ
ดูหลายท่านว่า ชีวิตนี้ต้องเดินทางจึงจะรุ่ง , แม้จะไม่ค่อยเชื่อพ่อหมอแม่หมอ ทั้งหลาย ,
แต่ก็มีเหตุให้ต้องขับรถตระเวณไปทั่ว เหนือ-ใต้-อิสาน-และภาคกลาง มาแล้ว . จนในที่
สุด ตอนนี้แม้จะเริ่มชราภาพแล้ว ,ก็ยังต้องมารับจ้างเดินทางไปกินข้าวกับชาวบ้าน . เลย
เป็นเหตุให้ได้มีโอกาศได้พบเจอกับเหตุการณ์พิเศษ ๆ มากมาย มีทั้งได้เจอคนที่น่ารัก ให้
ความเป็นเพื่อน ช่วยเหลือกันในยามยาก หรือ บางคนที่หันเอาด้านมืดของปัญญาและ
อารมณ์มาให้ก็มี , จนมีเพื่อนมาบอกให้แต่งนิยายขาย . แต่มาดูแล้วตัวเองคงไม่มีฝีมือ
ทางขีด ๆ เขียน ๆ ประกอบกับระหว่างการเดินทาง ในยามว่างก็ชอบแวะเข้าวัดเข้าวา หา
พระหาเจ้าทำบุญ ไป ๆมาๆ ก็เลยมาสะสมพระเครื่องแบบจับพลัดจับผลู ทั้ง ๆ ที่เคยเลิก
ห้อยพระมาเกือบ ๒๐ ปี , แต่เมื่อถึง"เวลา" และได้มีประสบการณ์จริงจากชีวิตตัวเองและ
สังเกตุจากคนรอบข้าง ที่กลายมาเป็นเหตุปัจจัย ให้กลับมาศึกษาหลักธรรมของศาสนา
พุทธ ให้ลึกซึ้งขึ้น ยิ่งเมื่อได้เริ่มปฏิบัติกับตัวเองแล้ว ก็ยิ่งเป็นที่ประจักษ์ว่า หลักธรรม
ของศาสนาพุทธนั้น สามารถนำมาใช้ได้กับชีวิตประจำวัน ทั้งในการดำเนินชีวิตทั่วไป ,
การคบหาสมาคมกับผู้อื่น , หรือแม้ในการประกอบกิจการงาน ต่างก็หนีไม่พ้น
หลัก"ธรรม" ทั้งสิ้น .
การเปิด " พระเครื่องเอเซีย , asiamulet.net " ก็ ด้วยหวังว่าจะเป็นช่อง
ทาง ให้พี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ที่สนใจในเรื่องของพระเครื่อง , เครื่องราง , ตะกรุด , เครื่อง
ประดับ ,ของสะสม , ของโบราณ ได้มีโอกาสเข้ามาพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้และ
ประสบการณ์ ทั้งในส่วนของไทย และส่วนของต่างประเทศ ( มหายาน ) , โดยเฉพาะ
ในส่วนของมหายานนั้น ผมก็ได้พยายามรวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้มากที่สุด
เท่าที่จะทำได้ , หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่องไป ก็หวังว่าท่านผู้รู้จะได้ช่วยชี้แนะด้วย จัก
เป็นพระคุณอย่างยิ่ง .
ท้ายที่สุด หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์และความสุข ในการเข้าเยี่ยมชม
พระเครื่องเอเซีย asiamulet.net ตามสมควร . และหากท่านต้องการสอบถามราย
ละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อทาง E-MAIL : asiamulet@gmail.com หรือทิ้งข้อ
ความของท่านได้ในหน้า " ติดต่อเรา" หรือ โทร : 081- 4726519 หวังว่าจะได้มีโอกาส
รับใช้ทุกท่านครับ .

เครื่องรางของขลัง

เครื่องรางของขลัง คือสิ่งที่มนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณ มีความเชื่อว่าเมื่อพกติดตัวแล้ว จะสามารถให้ความคุ้มครองจากภัยอันตรายที่เกิดจากธรรมชาติ หรือ คุ้มครองให้ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ,อุบัติเหตุ ,สัตว์ร้าย , การศึกสงคราม และสามารถนำมาซึ่งโชคดี เสน่ห์ ,เมตตามหานิยม ,ทำให้ชีวิตมีความสำเร็จ ความราบรื่น ความร่ำรวย และความเจริญรุ่งเรือง ตลอดจน ให้มีผู้หลักผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือ. เครื่องรางของขลังจึงเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในแทบจะทุกความเชื่อ ,ศาสนา และ วัฒนธรรม . ดังที่มีการพบเครื่องรางของขลังอยู่ในอารยธรรมใหญ่ ๆ ของโลกทั้งจีน ,อินเดีย,อียิปต์,กรีก,โรมัน,อินคา,อินเดียนแดง เป็นต้น . เครื่องรางของขลัง มีทั้งได้จากสิ่งที่หาได้ยากในธรรมชาติ เช่น คดงาช้าง,เพชรตาแมว,กำจัดกำจาย,เหล็กไหล,ไข่มุกราตรี,ว่านต่าง ๆ และทั้งที่ได้จากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ผ่านการคัดเลือกวัสดุตั้งต้น และพิธีกรรม หรือ การสวดมนต์ หรือเข้าทรง เพื่อจะทำการประจุพลังอำนาจพิเศษของเทพเจ้า หรือ พุทธคุณเข้าไปในเครื่องรางของขลังนั้น . โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอารยธรรมหรือในยุคสมัยใดที่อยู่ในช่วงของการศึกสงคราม ก็จะเป็นยุคที่เครื่องรางของขลังมีความเฟื่องฟูแพร่หลายเป็นที่สุด เพราะการสร้างเครื่องราง ใด ๆก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ ผู้ที่จะทำการสร้างเครื่องราง จะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจจิตกล้าแข็ง หรือมีคุณวิเศษ หรือสำเร็จฌาณสมาบัติในระดับหนึ่งแล้ว จึงจะสามารถสร้างเครื่องรางให้มีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครอง หรือสำเร็จประโยชน์แก่ผู้พกพาได้ตามต้องการ. ทั้งในการสร้างก็จะต้องมีการกำหนดฤกษ์ยามที่จะสร้าง และ พิธีกรรม และ วิธีกรรม ตลอดจนการทดสอบเมื่อทำเสร็จ ว่า มีความศักดิ์สิทธิ์จริง .
ตาม (คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ โดย อาจารย์ญาณโชติ) ได้กล่าวไว้ว่า " การลงอักขระเลขยันต์ในสิ่งของต่าง ๆ ได้แก่ แผ่นเงิน ,ทอง ,นาค,ทองแดง,ตะกั่ว,ผ้าขาว,ผ้าแดง,กระดาษ,ใบลาน โดยบรรจุพลังเวทย์มนต์คาถาลงไว้ให้มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นศิริมงคล และ ป้องกันอันตราย เรียกว่า เครื่องรางของขลัง ซึ่งมี ตะกรุด ,พิศมร ,มงคล,ผ้าประเจียด,พิรอด,ลูกสกด,เบี้ยแก้ ,มีดหมอ ,กฤช,สีผึ้ง เป็นต้น
การพกพาเครื่องราง มีวิธีในการพกพาเครื่องรางได้หลายวิธี เครื่องรางบางชนิด ใช้สำหรับคาด หรือ สวม หรือ พก ไว้ภายนอกร่างกาย เช่น ตะกรุด ,เบี้ยแก้,มีดหมอ,พิรอด. เครื่องราง บางชนิดก็ใช้ฝังเข้าไปในร่างกายเลย เช่น เข็มทอง ,เหล็กไหล ,ตะกรุดทอง . เครื่องราง บางชนิดก็ใช้อมในปาก เช่น ลูกอม ,ตะกรุดลูกอม ,พระเครื่องเป็นต้น.

เบญจภาคีเครื่องรางของขลัง
1. ตะกรุดมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
2. เบี้ยเเก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง
3. ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
4. เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (คลองด่าน)
5. หนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

๙ เครื่องรางของขลังอันทรงคุณค่าเลื่องลือมาแต่โบราณ
" หมากดีที่วัดหนัง ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง ไม้ครูอยู่คู่วัดอินทร์ ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์ พิสมรวัดพวงมาลัย ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง ราหูคู่วัดศรีษะฯ เเหวนอักขระวัดหนองบัว ลูกเเร่ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน เก้าสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา ติดกายยามยาตรา ภัยมิกล้ามาเเพ้วพาน"

วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

GABA RICE

GABA RICE ( GERMINATED PURPLE RICE DRINK POWDER ) CONTAINS PROTEINS , VITAMINS, MINERALS,DIETARY FIBERS AND GAMMA-AMINO BUTYRIC ACID (GABA)WHICH HAS BEEN WIDELY ACCEPTED AND USED
FOR TREATMENT OF MANY NEUROLOGICAL DISORDERS SUCH AS DEPRESSION , INSOMNIA, ANXIETY,EPILEPSY,AUTONOMIC DISORDERS OBSERVED DURING THE MENOPAUSE AND ETC.IT'S ALSO PREVENT INDIVIDUALS FROM ALZHEIMER'S DISEASE AND STIMULATES THE ANTERIOR PITUITARY GLAND TO SECREDE GROWTH HORMONE ,WHICH BUILDS UP BONE CELLS,TISSUESAND MUSCLE MASSES AND HELPS IN BURNING OFF FATS AS WELL . FOR MORE INFORMATION PLS. VISIT OUR SITE .

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ASIAMULET

SELL BUDDHA IMAGE , BUDDHA AMULET , AMULET ,GOOD LUCK CHARM
(FOR BRINGING GOOD LUCK , PROTECTION ,FRIENDSHIP ETC.) , JEWELRY
LOOSE STONE,ACCESSORY , ANTIQUE .
WE'LL TRY OUR BEST FOR YOUR SATISFACTION .
E-MAIL : asiamulet@gmail.com , chenxiang989@gmail.com


วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระเครื่องเอเซีย

ให้บูชาพระเครื่อง, เครื่องรางของขลัง , วัตถุมงคล ต่าง ๆ เช่น พระกริ่ง, พระปิดตา , ตะกรุด . เครื่องประดับต่าง ๆ ทั้งแบบโบราณและทันสมัย ทั้งเงินและทอง ,ของโบราณ,พลอยคัด เป็นต้น

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ไฉ่ซิงเอี้ย - ท้าวเวสสุวรรณ หรือ เทพเจ้าแห่งโภคทรัพย์


ท้าวเวสสุวรรณ , ไฉ่ซิงเอี้ย หรือเทพเจ้าแห่งโภคทรัพย์ ตามที่มีการบันทึกในอีกตำนานหนึ่ง ตามคติทางจีน ไฉ่ซิงเอี้ย หรือ ท้าวเวสสุวรรณท่านเป็นเทพเจ้าของลัทธิเต๋าองค์หนึ่ง ที่มีหน้าที่ดูแลกิจการค้าขาย และ โภคทรัพย์ทั้งหลาย รวมไปถึงทรัพย์ในดินทั้งหมด จึงทำให้พ่อค้าทั้งหลายให้ความเคารพนับถือมาก ถึงกับมีการสร้างศาลเจ้าของท่าน โดยเฉพาะในหมู่บ้าน หรือในเมืองที่กิจการค้าเจริญรุ่งเรือง เพราะท่านขึ้นชื่อในเรื่องการพิทักษ์ความยุติธรรม และ ความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมาในการทำการค้า

เดิมท่านมีชื่อว่า " จ้าวกงหมิง " ในระหว่างที่มีชีวิตได้มาปฏิบัติธรรมในถ้ำแห่งหนึ่ง ที่ภูเขาเอ๋อเหมย ( สำนักง่อไบ๊ ) จนในที่สุดก็ได้สำเร็จเป็นเซียนที่นี่ ต่อมาในภายหลังเมื่อท่านละสังขารแล้ว จึงได้รับการอวยยศจากเง็กเซียนฮ่องเต้ ให้เป็นไฉ่ซิงเอี้ย

ลักษณะพิเศษของท่านคือ รูปร่างล่ำสันแข็งแรง มีใบหน้าดำเสมือนก้นหม้อ คิ้วชี้ ตาโปน มือหนึ่งถือแส้เหล็ก อีกมือหนึ่งถือทองแท่ง ( เป็นนัยยะแห่งการลงทัณฑ์เมื่อคดโกง และ ให้รางวัลเมื่อซื่อสัตย์สุจริต แก่ผู้ที่ทำการค้า ) ทรงพาหนะคือเสือดำ ในบางครั้งจะมีกระรอกแห่งโภคทรัพย์อยู่ข้างกาย ว่ากันว่าท่านเป็นเทพที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถเรียกลมเรียกฝน บันดาลฟ้าผ่า ก่อโรคระบาด ควบคุมภัยธรรมชาติทั้งหลาย ทั้งยังสามารถดลบันดาลให้ผู้ที่เคารพนับถือท่าน ได้ประโยชน์จากการค้าที่ซื่อสัตย์สุจริต นำความร่ำรวย โชคลาภ และศิริมงคลมาสู่สานุศิษย์ ต่อมาในภายหลัง นอกจากขอเรื่องโชคลาภเงินทองแล้ว ก็ยังมีการไปอธิษฐานขอลูกขอหลาน ขอความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากท่านอีกด้วย

ปัจจุบัน จะมีการทำการบูชาไฉ่ซิงเอี้ยในวันขึ้นปีใหม่ ( ตรุษจีน ) ของทุกปี โดยจะมีการคำนวนตามตำราโบราณ ถึงทิศ และ เวลา ที่ไฉ่ซิงเอี้ยจะเสด็จมา เมื่อถึงวันนั้น ลูกหลานจีนก็จะจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ โดยตั้งโต๊ะให้หันไปในทิศที่ท่านจะมาแล้วทำการสักการะ และ อธิษฐานขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล และ ความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เจ้าแม่กวนอิม - พระอวโลกเตศวรโพธิสัตว์


เจ้าแม่กวนอิม , พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ , หรือในนามบาลี " Avalokitesvara " , หรือในชื่อภาษาจีนกลางว่า" กวนซื่ออินผู๋ซ่ะ " ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่เปี่ยมไปด้วยมหาเมตตาคุณ , มหากรุณาธิคุณ , มหาปัญญาคุณ และทรงมีฤทธานุภาพอย่างสุดที่เปรียบประมาณ

พระนามของเจ้าแม่กวนอิมยังมีความหมายในอีกนัยหนึ่งว่า ทรงเป็น " ผู้สดับตรับฟัง เสียง ( จากความทุกข์ยาก ) ของมหาสรรพสัตว์ อันไม่มีประมาณ " เพื่อจะเสด็จมาช่วยให้สรรพสัตว์นั้นให้พ้นไปเสียจากความทุกข์

พระนามของท่านแท้จริงแล้วมีนัยยะที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น คือเป็นการให้สติเตือนใจแก่พุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาในพระองค์ท่าน ให้ละทิ้งการรับฟังเสียงแห่งความทุกข์ยากแต่เพียงภายนอก (เสียงสรรเสริญเยินยอ หรือนินทาว่าร้าย อันมากระทบกับอายตนะ ทำให้เกิดความรัก ความเกลียด ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเป็นบ่อเกิดแห่งสรรพกิเลสทั้งปวง ) แต่ให้หันมาดำรงสติภายใน สดับตรับฟัง " เสียง "

จากภายในที่ไม่อาจใช้แต่เพียงอายตนะหยาบมา "ฟัง " , แต่ให้สดับตรับฟัง "เสียง " แห่งความทุกข์ยากจากสรรพสัตว์ อันดังกึกก้องอยุ่ในความเงียบ เมื่อดำรงสติรับ"ฟัง" ย่อมไม่หวั่นไหวไปตามแรงกระทบ จากสิ่งยั่วยุในทางโลก ก็จะไม่เกิดกิเลส ไม่มีความหวั่นไหว อันเป็น มรรคาแห่งความหลุดพ้น

ในทำนองเดียวกัน ผัสสะที่เกิดขึ้นในอายตนะอื่น ก็จะเห็นว่า แท้จริงแล้ว เป็นเพียงความ"ว่าง" ทั้งสิ้น เมื่อพุทธศาสนนนิกชนผู้ปฏิบัติทั้งหลายได้ตระหนักรู้ดังนี้ ก็จะมีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่มีแบ่งแยก " เรา , ของเรา " "เขา ,ของเขา " "บุคคล ตัวตน คน สัตว์ สิ่งของ " จะทำให้จิตใจกว้างขวาง เป็นธรรมชาติ เป็น ความว่าง ก็จะบังเกิดมหาปัญญา มหาเมตตา มหากรุณา ต่อสรรพสัตว์ ตั้งจิตที่จะทำประโยชน์ให้แก่สาธารณะ ปราศจากความเห็นแก่ตัว ก็จะสามารถปฏิบัติภาระกิจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์จากความทุกข์ยาก อันเป็นมหาปณิธานของพระโพธิสัตว์ได้

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เจ้าแม่กวนอิมเป็นพระโพธิสัตว์ที่ ได้รับความเคารพนับถืออย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในหมู่ลูกหลานชาวจีน บางท่านถึงกับปฏิญาณ ที่จะถือศีลกินเจตลอดชีวิต หรือเป็นช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชาพระองค์ ด้วยความเชื่อที่ว่า ไม่ว่าผู้ใดที่ได้รับความทุกข์ยากในชีวิต ไม่ว่าจะทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม หรือแม้แต่ผู้ปฏิบัติที่มุ่งมั่นจะมีความเจริญในทางธรรม ก็จะไม่ลังเลเลย ที่จะออกพระนามของเจ้าแม่กวนอิมในการสวดมนต์ ด้วยความศรัทธา แล้วพระองค์ท่านก็จะมาช่วยเหลือให้พ้นภัย หรือให้สำเร็จสมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนาได้

คาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม บทสั้น ได้แก่ คาถาหกอักษร , ส่วนบทยาว ได้แก่ ปรัชญาปารมิตตามหาหฤทัยสูตร
คาถาหกอักษร โอม มา ณี ปัท เม หุม

พระปิดตา

พระปิดตา หรือ พระมหากัจจายน์ ,พระสังกัจจายน์ หรือพระภควัมบดี คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" อันเป็นอีกนามหนึ่งของพระมหากัจจายน์ หนึ่งในพระสาวกผู้ทรงเอกทัคคะ (เป็นเลิศ) ๘๐ รูป ของพระพุทธองค์
พระมหากัจจายน์ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า "กาญจน" และได้อุปสมบท โดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้) ด้วยความที่ท่าน เป็นผู้ที่มีผิวพรรณวรรณะงดงาม ตามพระบาลีว่า "สุวณฺโณจวณฺณํ" คือมีผิวเหลืองดั่งทองคำ เป็นที่เสน่หานิยมรักใคร่แก่พุทธบริษัท ทั้งชายหญิง มิว่าท่านจะไปในสถานที่แห่งใด เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ต่างก็พากันสรรเสริญว่า ท่านคือ พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้ว

ด้วยความงดงามแห่งรูปกายนี้เอง เป็นสาเหตุให้เกิดความหลงใหล คลั่งไคล้จากฝูงชน ทั้งชายหญิง จนเกิดเรื่องพิพาทกัน ไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทำให้พระมหาสังกัจจายนะ เกิดสลดสังเวชในใจ พิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงาม ทำให้พุทธบริษัทต้องเดือดร้อน ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย ท่านจึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่าง กลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น
แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติ ยังส่งให้พระสังกัจจายน์เป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญ ตลอดมามิได้ขาด จนได้รับการรับรองจากพระพุทธองค์ว่า ท่านเป็นพระสาวก ผู้มีความเป็นเลิศทางโภคทรัพย์ และ ลาภสักการะ เสมอกันกับพระสิวลี แม้พระองค์จะต้องนำพาคณะสงฆ์ ไปในถิ่นอันทุรกันดารเมื่อใด ก็จะมีรับสั่งให้นิมนต์พระสังกัจจายน์ หรือ พระสิวลี รูปใดรูปหนึ่งตามไปกับหมู่คณะด้วย ก็จะมีญาติโยมมาถวายภัตตาหาร และ เครื่องสักการะต่าง ๆ จนมีเหลือเฟือ มิให้คณะสงฆ์ต้องลำบากเลย

นอกจากนั้น ท่านยังได้รับคำชม จากพระบรมศาสดาว่า พระสังกัจจายน์นั้นเป็นเอตทัคคะล้ำเลิศในการอธิบายความ แห่งคำที่ย่อลงแล้วได้อย่างพิสดาร ด้วยปัญญาอันชาญฉลาดล้ำเลิศ ของพระสังกัจจายน์นั่นเอง
ส่วนที่มีการทำ พระสังกัจจายน์เป็นรูปปิดทวารทั้ง 9 นั้น ก็คือมือคู่หนึ่งปิดหน้า คือปิดตา 2 ข้าง + ปิดจมูก 2 + ปิดปาก 1 + มืออีกคู่หนึ่งปิดที่หู 2 ข้าง + ส่วนอีกมือคู่หนึ่งนั้นปิดที่ทวารล่างทั้ง 2 รวมเป็นปิดทวารทั้งเก้า เป็นอุปเท่ห์หมายถึง ตอนที่พระภควัมบดีท่านกำลังเข้านิโรธสมบัติ ทวารทั้งเก้าก็จะปิดสนิท ไม่ยินดียินร้ายกับกิเลสทั้งหลาย เป็นความดับสนิท ของอาสวะกิเลสต่างๆ ที่ไม่อาจจะมาแผ้วพานได้เลย
จากมูลเหตุนี้เอง คณาจารย์ต่างๆ ท่านจึงสร้างรูปเคารพพระสังกัจจายน์ เป็นรูปพระปิดตา และโดยส่วนใหญ่ ก็จะปลุกเสกให้เด่นไปทาง เมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์ ส่วน
พระปิดตามหาอุตม์ เป็นนัยแห่งการป้องกัน สรรพอันตรายทั้งหลายทั้งปวง


คาถาบูชาพระปิดตา (พระสังกัจจายน์ ,พระภควัมบดี )

ธัมมะจักกัง ปะทังสุตวา พุทชิตวา อมตังปะทัง สันติเก อะระหาโลเก โลกานัง หิตะการะนา ภันเต คะวัมปะติ นามะ ติสุโลเก สุปากะโต พรหมะปุตโต มะหาเถโร อะระโหเชฎถะโก มุนิ นัตถิเถโร สะโมอินทะ คันทัพพา อะสุระเทวา สักโก พรหมาภิปูชิโต
นะโมพุทธธัสสะ คะวัมปะติสสะ
นะโมธรรมมัสสะ คะวัมปะติสสะ
นะโมสังฆัสสะ คะวัมปะติสสะ
สุขา สุขะ วะรัง ธัมมัง ธัมมะ จักกัง ปะวะรัง นิฏฐิตัง

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระพิฆเนศวร์ - พระคเนศวร์


พระพิฆเนศวร์ หรือ พระคเนศวร์ ผู้เป็นเทพแห่งความสำเร็จ และเป็นเทพแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งมวล ทรงเป็นเทพที่มีความสำคัญ ได้รับการเคารพบูชาอย่างแพร่หลาย ในหมู่คนทุกเชื้อชาติ ศาสนา ทุกสาขาอาชีพ ทั้ง ในพิธีทางศาสนาพุทธ และ ศาสนาพราหมณ์ ทั้งชนชั้นปกครอง พ่อค้า ข้าราชการ นักแสดง หรือแม้แต่ในดินแดนล้านนา ก็ยังมีการประดิษฐานรูปบูชาขององค์พระพิฆเนศวร์ ไว้หน้าประตูทางเข้าวัดวาอาราม ปะรำพิธีต่าง ๆ โดยนัยยะแห่งการประสิทธิ์ประสาทความสำเร็จ ขจัดซึ่งอุปสรรคขัดข้องในการประกอบกิจการงาน และ พิธีกรรมทางศาสนา ด้วยเคารพในปัญญาความเฉลียวฉลาด ความกล้าหาญ ความกตัญญู ความสามารถ ฤทธานุภาพของพระองค์ และความสามารถทางศิลปวิทยาการ ไปจนถึงความอ่อนน้อมถ่อมตัว และเมตตาธรรม กุศโลบายในการกำราบศัตรูแล้ว ก็ทรงอภัยและให้โอกาศในการกลับตัว และตั้งให้เป็นเทพบริวารของท่าน ไม่ใช้วิธีการกำจัดหรือฆ่าล้างผลาญศัตรูให้ถึงแก่ชีวิต คุณธรรมในตัวของท่านที่แสดงออกเหล่านี้ จึงได้ทำให้พระคเนศวร์ได้รับการเคารพนับถืออย่างกว้างขวาง ในอินเดีย จีน และหลายประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แม้แต่องค์พระศิวะมหาเทพผู้สร้างและพระบิดาแห่งองค์พระพิฆเนศวร์ยังกล่าวว่า ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใดหรือทำพิธีบูชาใด ให้ทำการบูชาพระพิฆเนศวร์ ก่อนกระทำการทั้งปวง “ผู้ใด ต้องการความสำเร็จ ให้บูชาพระพิฆเนศวร์” “ผู้ใด ต้องการพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง ให้บูชาพระพิฆเนศวร์

พระคเนศวร์ในฐานะผู้ลิขิตมหากาพย์มหาภารตยุทธ - มีตำนานที่กล่าวถึงสติปัญญาและไหวพริบของพระคเณศวร์ไว้หลายตอน เช่นเมื่อครั้งหนึ่ง มหาฤาษีวยาสะมีความต้องการที่จะเขียนมหากาพย์ภารตะ แต่เกรงว่าตนจะทำเองไม่สำเร็จ จึงไหว้วานให้ผู้อื่นช่วย แต่ไม่มีใครกล้าอาสาที่จะรับงานชิ้นนี้ ฤาษีนารอดเห็นว่าพระพิฆเณศวร์องค์เดียวเท่านั้นที่จะเขียนมหากาพย์ชิ้นนี้ได้ ในที่สุดฤาษีวยาสะจึงต้องทูลขอความช่วยเหลือจากพระคเณศวร์ พระคเณศวร์บอกว่า จะเขียนตามที่ฤาษีบอก แต่ทันทีที่ฤาษีหยุดบอกจะหยุดเขียนทันที ฝ่ายฤาษีบอกว่า สิ่งที่พูดออกไปจากปากของเรา ท่านต้องตีความให้ถ่องแท้ก่อนที่จะลงมือเขียน ฉะนั้นเมื่อฤาษีต้องการใช้ความคิดสำหรับโศลกต่อไปก็จะบอกศัพท์ยาก ๆ เพื่อให้พระคเณศวร์ตีความเสียก่อนเพื่อเป็นการประวิงเวลา พระพิฆเณศวร์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดอัจฉริยะในฐานะที่เป็นผู้ลิขิต มหากาพย์มหาภารตะ ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์มหากาพย์สุดยอดของฮินดู อย่างไรก็ตาม เรื่องมหากาพย์มหาภารตยุทธ์นี้ แน่นอน คงไม่มีใครเชื่อว่ามาจากฝีมือพระพิฆเณศวร์แน่ แต่นั่นเป็นภูมิปัญญาของปราชญ์โบราณที่ต้องการจะบอกกับคนในยุคสมัยต่อไปว่า การบูชาครูเพื่อขอดวงปัญญาในการทำงานให้ลุล่วงนั้น เป็นสิ่งสำคัญในลำดับแรก

พาหนะของพระคเนศวร์ หนูกับช้างเป็นสัญลักษณ์ของการพึ่งพาและปรองดอง ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงอำนาจ และความมีชัยของฝ่ายที่อยู่เหนือกว่า ในทางมนุษยวิทยาแล้ว มีผู้วิเคราะห์ไว้ว่าหนูกับช้าง เป็นสัญลักษณ์ของชนเผ่าสองกลุ่ม เผ่าที่มีชัยเหนือกว่าอาจจะเป็นชนกลุ่มที่นับถือช้างอยู่แต่เดิม จึงได้สร้างและยึดเอาประเพณีการนับถือช้างเป็นเทพเจ้า มาเป็นตัวแทนกลุ่ม หรืออีกอย่างที่เป็นไปได้คือ คนสมัยดั้งเดิมนั้นประกอบอาชีพทางด้านกสิกรรม และแน่นอน หนูย่อมเป็นศัตรูอันร้ายกาจของไร่นา ภาพที่แสดงออกในรูปของช้างและงูที่เป็นสังวาลนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้ทำลายหนูอันเป็นศัตรูสำคัญของผลิตผลทางการเกษตรอย่างชัดเจน ทั้งการนำหนูมาเป็นบริวารนั้น เนื่องจากหนูขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว หนูได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีความฉลาดและกัดทุกอย่างให้ขาดได้ ดังนั้นจึงเป็นความเหมาะสมสำหรับการเป็นพาหนะของเทพเจ้าแห่งปัญญา อันมีคุณสมบัติในการขจัดซึ่งอุปสรรค

วันคเณศจตุรถี การบูชาพระพิฆเณศวร์เรียกว่า “พิธีคเณศจตุรถี” มีความหมายว่า “พิธีอุทิศต่อพระคเณศวร์” จะกระทำวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ภัทรบท หรือเดือน ๑๐ ในวันที่ประกอบพิธีคเณศจตุรถีนั้น ประชาชนทั้งหลายจะพากันมาทำสักการะบูชา รูปเคารพของพระคเณศที่ปั้นด้วยดิน (เผา ) เครื่องบูชาจะประกอบไปด้วยดอกไม้ (โดยเฉพาะดอกไม้สีสดใส เช่น สีแดง, สีเหลือง, สีแสด) ขนมต้ม, มะพร้าวอ่อน, กล้วย, อ้อย, นมเปรี้ยว,(แบบแขก) ขณะทำการบูชา ผู้บูชาจะท่องพระนาม ๑๐๘ ของพระองค์ หลังจากการบูชาแล้วก็จะเชิญพวกพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีมาเลี้ยงดูกันให้อิ่มหนำสำราญ

พระคเณศวร์ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความรู้และปัญญายิ่งใหญ่ แต่ละส่วนของท่านให้ความหมายในเชิงปรัชญาได้ดังนี้ ๑.พระเศียร - ทรงใช้เศียรอันใหญ่ที่เต็มด้วยปัญญาความรู้ เป็นที่รวมแห่งปัญญาทั้งหมด ๒.พระกรรณ - ทรงใช้รับฟังคำสวดจากพระคัมภีร์และความรู้ในรูปอย่างอื่น ๆอันเป็นสิ่งแรกแห่งการศึกษา
๓. งวง - เราได้นำเอาความรู้ต่าง ๆที่ได้รับจากการเลือกเฟ้นระหว่างทวิลักษณะ ความผิด-ถูก ความดี-ความชั่ว อันมีงวงช้างที่ยาวและใหญ่ใช้ชั่งน้ำหนักต่อการกระทำหรือการค้นหาสิ่งที่ดีงามต่างๆ อันปัญญานั้นเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาของชีวิตให้หลุดพ้นจากอุปสรรค และพบกับความสำเร็จสมดั่งความมุ่งหมาย
๔.งา - งาข้างเดียวโดยอีกข้างหักนั้น เพื่อแสดงให้รู้ว่าจะต้องอยู่ในเหตุระหว่างความดี-ความชั่ว ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ดีถึงความแตกต่างกัน ดั่งเช่น ความเย็น-ความร้อน การเคารพ-การดูหมิ่นเหยียดหยาม ความซื่อสัตย์-ความคดโกง
๕.หนู - แสดงถึงความปรารถนาของมนุษย์ ,บ่วงบาศ - ทรงถือโดยทรงลากจูงคนทั้งหลายให้เดินตามรอยพระบาทของพระองค์
๖.ขวาน - เป็นอาวุธทรงใช้ปกป้องความชั่วร้ายและคอยขับไล่อุปสรรคทั้งหลายที่มาก่อกวนต่อบริวารของพระองค์
๗.ขนมโมทกะ - ข้าวสุกผสมน้ำตาลปั้นเป็นลูก เพื่อประทานให้เราเป็นรางวัลต่อการที่เราปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระองค์
๘.ท่าประทานพร - หมายถึงการประทานความยิ่งใหญ่แห่งความผาสุกและความสำเร็จให้กับสาวกของพระองค์

คาถาบูชาพระคเนศวร์ : สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ก็คือ ผู้ที่จะสวดมนต์บูชาพระคเณศวร์ควรจะต้องทำปรันยัน(อาบน้ำชำระร่างกายหรือล้างมือล้างเท้า) ก่อนที่จะเริ่มสวดมนต์ โดยจะต้องทำปรันยันสามหนหรือมากกว่าก่อนที่จะสวด ต้องสวดมนต์อย่างน้อยให้ได้หนึ่งรอบของลูกประคำ (108ครั้ง) และจะต้องกำหนดชั่วโมงและสถานที่เพื่อการท่องสวดมนตร์ที่จะต้องทำติดต่อกันเป็นประจำ โดยต้องตั้งจิตให้แน่วแน่ประกอบสมาธิ อันจะนำมาซึ่งความศักดิ์สิทธิ์และพลังแห่งอำนาจ
ข้อเตือนก็คือ ผู้บูชาจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงไม่เจ็บไข้ ในเวลาสวดมนตร์ และจะไม่กระทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
๑.โอมฺ คัม คณะปัตเย นะมะหะ : มนตร์นี้ได้มาจากพระคัมภีร์ คเณศวร์ อุปนิษัท ทุกๆครั้งจะต้องเริ่มต้นการสวดมนตร์นี้ก่อนออกเดินทาง หรือในการเริ่มต้นบทเรียนใหม่ หรือก่อนเริ่มต้นการทำสัญญาธุรกิจใหม่ ก็เพื่อขจัดอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จสมประสงค์
๒.โอมฺ นโม ภัควเต คชานนายะ นะมะหะ : มนตร์นี้เป็นมนตร์แห่งการกราบไหว้บูชา ที่พระคเณศวร์ทรงโปรดมาก
๓.โอมฺ ศรี คเณศายะ นะมะหะ : มนตร์นี้ส่วนมากจะต้องสั่งสอนให้เด็กๆท่องสวดเพื่ปัญญา ความเฉลียวฉลาดที่จะได้รับ เพิ่มพลังการจดจำและ ให้ผลสำเร็จในการสอบ การเล่าเรียน เช่นเดียวกันคนทั่ว ๆไปอาจใช้มนต์นี้ได้ เพื่อความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจ
๔.โอมฺ วักรตุนทายะ ฮัม : เป็นมนตร์ที่มีอำนาจมากตามที่พรรณนาไว้ใน พระคเณศ ปุราณะ , เมื่อใดเกิดเหตุขัดข้อง ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้แล้ว หรือเกิดเหตุร้ายขึ้น ควรทำสมาธิรำลึกถึงพระคเณศวร์ด้วยการสวดมนตร์นี้ตลอดเวลา
๕.โอมฺ กษิปหะ ปรัสทายะ นะมะหะ : คำว่ากษิประ หมายความถึงความรวดเร็ว ถ้าหากว่าเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดบางสิ่งบางอย่างกับตัวท่าน หรือบางอย่างเกี่ยวกับธุรกิจการงานที่ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไรแล้ว ควรจะตั้งจิตมั่นบูชาพระคเณศวร์ด้วยการสวดมนตร์นี้โดยเร็ว เพื่อที่จะได้รับพรให้หลุดพ้นจากเรื่องร้ายหรือภัยที่ร้ายแรงได้
๖.โฮมฺ ศรีม ฮรีม กลีม คลัม คัม คณะปัตเย วร วรัท สรวะ ชันมัย วศัมนายะ สวาหา : ในมนตร์บทนี้มีพืชมนตร์อยู่มากมาย (พืช-เมล็ด) อันความหมายอย่างอื่นคือ "แสดงถึงการให้พรแห่งความสุขสำหรับตัวท่าน ข้าพเจ้าขอทูลถวายตัวเองเป็นทาสรับใช้พระคเณศวร์"
๗.โอมฺ สุมุขายะ นะมะหะ : มนตร์บทนี้หมายความว่า ท่านจะต้องมีจิตใจที่งาม มีวิญญาณอันบริสุทธิ์ ในความเป็นจริงในทุก ๆสิ่ง ด้วยการบูชาด้วยมนตร์นี้ ขอให้บังเกิดสิ่งที่ดีงามและของสวยงามมาสู่ยังตัวท่าน พร้อมด้วยความสุขสันติซึ่งมั่นคงติดแน่นในดวงตาของท่านไปนานแสนนาน และคำพูดทุกถ้อยคำซึ่งท่านได้พูดออกมา ขอให้เต็มไปด้วยพลังแห่งความรัก และเมตตา
๘.โอมฺ เอกทันตายะ นะมะหะเอกทันตะ : หมายถึงพระผู้ทรงมีงาเพียงข้างเดียวแห่งเศียรเป็นช้าง ซึ่งหมายความว่า พระองค์ทรงแบ่งแยกความดีและความชั่วออกเป็นสองฝ่ายและนำท่านไปสู่ความดี และเป็นที่โปรดปรานของพระองค์ตลอดกาล ใครก็ตามที่มีจิตใจเป็นหนึ่งแน่วแน่ต่อการกราบไหว้บูชาแล้ว จะได้ผลบุญตามที่ตนเองที่ปรารถนาอยากได้
๙.โอมฺ กปิลายะ นะมะหะกปิล : หมายถึงว่าท่านสามารถที่จะแต่งเติมแต้มสีสันแห่งอายุรเวท ท่านสามารถสร้างสีสันรอบๆตัวท่านเอง และรอบผู้อื่นได้ด้วยมนตร์นี้ จงอาบน้ำชำระสิ่งทั้งหลาย และตบแต่งมันให้สวยงาม และเยียวยาให้ดีขึ้นได้ เพราะว่ามีอำนาจในมนตร์นี้ เมื่อใดที่ท่านต้องการ โดยเฉพาะอย่างในการรักษาผู้อื่นจะเป็นผลได้ในทันที
๑๐.โอมฺ สัมโพธรายะ นะมะหะ : หมายความว่าโลกทั้งหมดอยู่ในพระองค์ด้วยคำว่า "โอม"
๑๑.โอมฺ วิกตายะ นะมะหะ : หมายความว่าในความเป็นจริงของโลกใบนี้เหมือนความฝันหรือเป็นการเล่นละครเท่านั้น เมื่อมีความเข้าใจดีทุกอย่างว่า โลกทั้งหมดนี้ดูเหมือนความฝันโดยมีพวกเราทั้งหมดเป็นตัวแสดง โดยที่เราแสดงบทเป็นลูก เป็นพ่อ เป็นแม่ ในความฝันนี้เราอาจถูกงูเห่ากัดตาย แต่เมื่อตื่นขึ้นมาไม่เป็นอะไรเลย ชีวิตคือการแสดง ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างเราพิจารณาเหมือนหนึ่งการเล่นละคร มนตร์นี้จะทำให้ผู้สวดเข้าใจดีถึงเรื่องราวทั้งหมด
๑๒.โอมฺ วิฆณะ นัษนายะ นะมะหะ : ในความเป็นจริงของทั้งหมด พระเจ้าทรงขจัดสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้นไปจากชีวิตเรา ด้วยความรู้แห่งมนตร์นี้อุปสรรคทั้งหมด และพลังอำนาจแห่งเครื่องกีดขวางทางทั้งหลาย ก็จะถูกทำลายลงไปได้

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระอุปคุต , พระบัวเข็ม


พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม ท่านเป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธานุภาพมาก ที่ปรากฏตัวขึ้นในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อมารับหน้าที่คุ้มครองบริเวณพิธี ที่ทำการสังคายนาพระไตรปิฏก จากการถูกรังควานจากพญามาร เชื่อกันว่าพระอุปคุตท่านเข้านิโรธสมาบัติอยู่ที่สะดือทะเล เมื่อในสมัยที่พระเจ้าอโศก ทรงโปรดให้มีการชำระพระศาสนา ด้วยเกรงจะมีความวิปลาสคลาดเคลื่อนในธรรมะ ( ที่อาศัยการท่องจำสืบต่อกันมา หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ) จึงโปรดให้อัญเชิญพระอรหันต์เถระชั้นผู้ใหญ่ ให้มาชุมนุมกันเพื่อตรวจทานและทำการจดบันทึก เรียบเรียงพระธรรมคำสอนออกเป็นหมวดหมู่ ที่เรียกว่าการสังคายนาพระไตรปิฏก ในขณะนั้นพญามารต้องการจะมาขัดขวางจึงได้มาแสดงฤทธิ์ เพื่อรบกวนไม่ให้สังคายนาได้สำเร็จ ด้วยเกรงว่าศาสนาพุทธจะเจริญรุ่งเรือง แล้วความชั่วร้ายก็จะอ่อนกำลังลง ณ ขณะนั้นเอง ในหมู่พระเถระที่มาร่วมพิธีก็ไม่มีรูปใดที่มีฤทธิ์มากพอที่จะต้านพญามารไว้ได้ จึงได้ประชุมกันเพื่อหาวิธีแก้ไข
จึงได้มีเณรน้อยรูปหนึ่งเตือนความจำทุกคนว่า ยังมีพระอรหันต์อีกรูปหนึ่งมีนามว่าพระอุปคุตเข้าสมาบัติอยู่ใต้ทะเล จึงได้ไปอัญเชิญท่านมาคุ้มครองพิธีนี้
เมื่อพระอุปคุตมาถึง จึงได้แสดงฤทธิ์เสกหมาเน่าไปแขวนคอพญามารไว้ให้ได้รับความอับอาย แม้จะไปหาทวยเทพ หรือแม้แต่พระพรหมผู้ที่ฤทธิ์มาก ก็ไม่อาจปลดหมาเน่าลงมาได้ จนพิธีผ่านพ้นไป พญามารได้สำนึกผิดแล้ว พระอุปคุตท่านจึงได้แสดงธรรมโปรดจนพญามารกลับใจตั้งจิตปรารถนาพุทธภูมิ จึงได้ปลดหมาเน่าลงมา
พุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสในองค์พระอุปคุต จึงนิยมที่จะสร้างรูปของท่านเป็นพระอรหันต์ที่นั่งบนดอกบัว หรือมีใบบัวปิดศรีษะ และมีรูปกุ้งหอยปูปลาอยู่ที่ฐาน นิยมแกะด้วยไม้โพธิ์ตายพรายที่ถูกฟ้าผ่าที่ชี้ไปทางทิศตะวันออก และยังนิยมฝังพระธาตุหรือตะกรุด ไว้ตามข้อต่อขององค์พระอีก ๙ จุด แล้วลงรัก ปิดทอง เป็นที่มาของอีกนามหนึ่งของท่านว่า พระบัวเข็ม
นอกจากนี้ท่านยังเป็นต้นกำเนิดของการตักบาตรเที่ยงคืน ในวัน " เป็งพุธ " ( วันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธ ) โดยเชื่อกันว่าในคืนวันเป็งพุธ พระอุปคุตท่านจะแปลงกายเป็นสามเณร ออกมาโปรดญาติโยม ผู้ที่โชคดีได้ใส่บาตรท่านในวันดังกล่าว จะประสบความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต อุดมไปด้วยโภคทรัพย์ทั้งปวง จนกลายเป็นประเพณีนิยมกันในพม่า และ บางจังหวัดทางภาคเหนือของไทย

คาถาบูชาพระอุปคุต
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ

(อธิษฐานบูชาพระอุปคุตเพื่อ คุ้มกันภยันตราย จาก ภัยพิบัติทั้งปวง และอธิษฐานขอลาภ )

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระเนื้อดิน


พระเนื้อดิน ส่วนใหญ่จะเป็นพระกรุที่สร้างจากเนื้อดินที่มีกรรมวิธีในการเตรียมมวลสารคือดินจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จากที่ที่มีความสำคัญทางศาสนาพุทธ เช่น ดินจากสังเวชนียสถานจากอินเดีย หรือดินจากวัดสำคัญ ๆ หรือมวลสารศักดิ์สิทธิ์อื่นเช่น ดินขุยปู ตะไคร่จากกำแพงโบสถ์ ผงตะไบจากการลงพระคาถาอักขระในแผ่นเงินแผ่นทอง (ตะกรุด) ผงตะไบพระศักดิ์สิทธิ์ แม้แต่ผงจากพระเครื่องที่ชำรุด ผงจากการลบผงของคณาจารย์ต่าง ๆ ผงธูปจากวัดใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ ผงว่านหรือไม้ศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ นำมารวมกันเป็นมวลสารตั้งต้นแล้วหาฤกษ์งามยามดีทำการกดพิมพ์ ตากให้แห้ง สำเร็จเป็นพระเนื้อดิน แล้วทำการพุทธาภิเษกสมโภช แล้วบรรจุกรุ( ในเจดีย์หรือใต้ฐานพระประธานในโบสถ์ ) เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา และเก็บไว้ให้เป็นมรดกแก่ชนรุ่นหลัง ต่อไป

พระยอดธง


พระยอดธง คือพระพุทธรูปที่ตรงส่วนฐาน มีเดือยยื่นออกมาเพื่อให้เสียบติดกับยอดธง เพื่อใช้ประดิษฐานที่ยอดธงที่ใช้ในการออกศึกสงคราม เพื่อความคุ้มครองให้กับกองทัพ ในการคุ้มครองภยันตราย จากข้าศึกศัตรู และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับไพร่พล และเป็นสัญลักษณ์ในการนำมาซึ่งชัยชนะในการศึก ซึ่งเมื่อพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการสร้างแล้ว พระยอดธงย่อมต้องผ่านพิธีพุทธาภิเษก จากพระภิกษุที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เข้มขลังของพุทธาคมในสมัยนั้น เพื่อนำชัยชนะ และคุ้มครองให้กับพระมหากษัตริย์ , แม่ทัพนายกอง , และไพร่พลทุกผู้ทุกคน .

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระสิงห์ ,พระพุทธสิหิงค์

พระสิงห์ หรือ พระพุทธสิหิงค์ คือพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่ได้มีปรากฏบันทึกไว้ในชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าได้สร้างขึ้นตามคติของพุทธศาสนา แบบเถรวาทสายลังกาวงศ์ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๗๐๐ โดยพระเจ้าสีฬหะ แห่งลังกาทวีป โดยได้ร่วมพระทัยพร้อมกับพระอรหันต์ ด้วยหมายจะให้ได้พุทธลักษณะที่ตรงกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริง ๆ ถึงกับต้องอัญเชิญพญานาคที่เคยพบพระพุทธเจ้า มาแปลงร่างให้ดูเป็นต้นแบบในการปั้นหุ่นในครั้งนั้น


องค์พระพุทธสิหิงค์ที่สร้างขึ้นมีพุทธลักษณะที่งดงามมาก เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาปสาทะแก่ผู้ที่ได้พบเห็นให้ได้บังเกิดความเลื่อมใสเคารพบูชา จนพระโพธิรังสี ผู้รจนาตำนานพระพุทธสิหิงค์ ถึงกับได้กล่าวไว้ว่า

" พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ก็เหมือนพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นั้น "

" พระพุทธสิหิงค์เมื่อประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ย่อมทรงทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดั่งดวงประทีปชัชวาล เหมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์ชีพ "

" พระพุทธสิหิงค์หามีชีวิตได้ก็จริง แต่มีอิทธานุภาพ ด้วยเหตุสามประการคือ ศาสนะพละของพระพุทธเจ้า , อธิษฐานพละ ของพระอรหันต์ และ อธิษฐานพละ ของพระเจ้าลังกา "

ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระพุทธสิหิงค์ก็ได้ถูกอัญเชิญมาพร้อมกับพระไตรปิฏกจากลังกา โดยกษัตริย์ผู้ครองนครศรีธรรมราช และก็ได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย , กรุงศรีอยุธยา , กำแพงเพชร , เชียงราย , เชียงใหม่ ตามลำดับ จนมาถึงในรัชสมัยของพระไชยเชษฐาธิราช ซึ่งทรงเป็นกษัตริย์ล้านนาที่มีพระราชภาระกิจในการไปปกครองล้านช้าง จึงได้อัญเชิญจากเชียงใหม่ไปประดิษฐาน ณ ล้านช้าง ( หลวงพระบาง ) ด้วย ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้อัญเชิญเสด็จกลับมาประดิษฐาน ณ กรุงศรีอยุธยา ในวัดพระศรีสรรเพชญ จนเมื่อครั้งเสียกรุง จึงได้ถูกพม่าอัญเชิญมาไว้ที่เชียงใหม่อีกครั้ง จนล่วงเลยมาถึงในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทได้โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในกรุงรัตนโกสินทร์

ปัจจุบัน พระพุทธสิหิงค์พระองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร โดยในวันสงกรานต์ของทุกปี ได้มีการอัญเชิญเสด็จออกมาให้ประชาชนได้เคารพบูชาและสรงน้ำตามประเพณีเพื่อความเป็นศิริมงคล

ด้วยพุทธลักษณะอันงดงามจนยากที่จะหาพระพุทธรูปองค์อื่น มาเทียบเทียม เว้นเสียแต่พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก

และความศรัทธาในพุทธานุภาพ จนพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ได้บันทึกไว้ว่า

" ผู้ใดมีความทุกข์ร้อนในใจ ท้อถอยหมดมานะด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ถ้าได้มาจุดธูปเทียนบูชา และ นั่งนิ่ง ๆ มององค์พระสัก ๑๐ นาที ความทุกข์ร้อนในใจจะหายไป ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งจะกลับมาสดชื่น หัวใจที่ท้อถอยหมดมานะ จะกลับเข้มแข็งมีความมานะพยายาม ดวงจิตที่หวาดกลัวจะกลับกล้าหาญ ดวงจิตที่เกียจคร้านจะกลับขยัน ผู้ที่หมดหวังจะกลับมีความหวัง "

คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธะปะสังสา คาถาโย พุทธะสิงหิงโค นามะ.........ภะณามะ เส.
(รับ) อิติ ปะวะระสิหิงโค อุตตะมะยะโสปิ เตโช.........ยัตถะ กัตถะ จิตโตโส สักกาโร อุปาโท.........สะกาละพุทธะสาสะนัง โชตะยันโตวะ ทีโป.........สุระนะเรหิ มะหิโต ธะระมาโนวะ พุทโธติ.