วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

เครื่องรางของขลัง

เครื่องรางของขลัง , เครื่องราง , ตะกรุด ,แหวน

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกียวกับเครื่องรางของขลัง , ตะกรุด ,แหวน ได้ที่หน้า บทความ.

AMULET CHARMS , TA KRUD , RING

FOR FURTURE INFO. ABOUT AMULET CHARMS , TA KRUD , RING , PLEASE FIND FROM ARTICLE .

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

พระเครื่อง , พระเนื้อดิน

พระเครื่อง , พระกริ่ง เนื้อ .

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พระเครื่อง , พระกริ่ง ได้จากหน้า บทความ .


BUDDHA IMAGE ,PRA KRING .

FOR FURTURE INFO. ABOUT BUDDHA IMAGE,PRA KRING , PLEASE FIND FROM ARTICLE .

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

พระกษิติโพธิสัตว์ (พระมาลัย )
















地藏王菩萨 พระกษิติโพธิสัตว์ หรือพระมาลัย ท่านมีชื่อในภาษาบาลีว่า ksitigarbha ตามความเชื่อแบบมหายาน ท่านเป็นหนึ่งในแปดพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูง ถึงคุณธรรมของท่านที่มีความสงบไม่หวั่นไหว ดุจดั่งผืนแผ่นดิน และ ปัญญาไตร่ตรองอย่างละเอียดลึกซึ้งดุจแผนที่ขุมทรัพย์ จนเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาจีนกลางว่า 地藏 (ตี้จั้ง)
地 di (ตี้) หมายถึง ผืนแผ่นดิน
藏 zang (จั้ง) มาจากคำเต็มว่า 宝藏 baozang (เป่าจั้ง) หมายถึง ขุมทรัพย์ ,ทรัพย์สมบัติ
ตามบันทึกเล่าประวัติของท่านว่า ตั้งแต่ในอดีตชาติอันนานแสนนาน ในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้มีสตรีนางหนึ่งที่เป็นเดียรถีร์ นางมีแม่ที่ไม่เคยเชื่อเรื่องศาสนา และการทำความดีใด ๆ เอาแต่ก่อกรรมทำเข็ญ เมื่อตายไปแล้ว ก็ได้ไปเสวยผลกรรมอยู่ในนรก , ต่อมานางเดียรถีร์ผู้นี้ ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาพระศาสนาพุทธ นางก็ระลึกถึงมารดาของนางขึ้นมาได้ นางก็ทราบด้วยปัญญาว่าบัดนี้ มารดาคงต้องตกนรกอยู่เป็นแน่ ด้วยความเป็นห่วง นางจึงจัดการขายบ้านเรือนและทรัพย์สมบัติ เพื่อนำมาสร้างกุศล หวังที่จะช่วยมารดาของตน จนในที่สุด จึงได้ตั้งมหาปณิธานที่จะช่วยเหลือสัตว์โลกทั้งหลาย ที่ยังอยู่ในห้วงวัฏสงสาร ต่อหน้าพระพุทธเจ้าในยุคนั้นว่า " ไม่ว่าในชาตินี้ หรืออนาคตชาติอันมากมายไม่มีประมาณ ข้าฯขอตั้งมหาปณิธานที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ ที่กำลังได้รับความทุกข์เข็ญ ด้วยผลกรรมใด ๆ ให้ได้พ้นจากห้วงทุกข์ ในนรก ได้ไปสู่สุขคติ และถึงพระนิพพานเป็นที่สุด . "
ด้วยอานิสงค์แห่งมหาปณิธานของท่าน จึงทำให้ท่านได้มาเป็นพระกษิติโพธิสัตว์ ซึ่งรักษามหาปณิธานของท่าน จนมาเป็นโศลกอันเลื่องลือประจำองค์ว่า
" จะโปรดสัตว์โลกจนหมดสิ้น เพื่อเป็นประจักษ์พยานแห่งพุทธะจิต
ตราบใดที่นรกยังไม่ว่าง สาบานว่าจะไม่ยอมบรรลุพระนิพพาน "
ด้วยมหาปณิธานอันนี้ จึงทำให้ท่านใช้ฤทธิ์ไปแสดงธรรมโปรดสัตว์นรก เปรต อสุรกายอยู่ในนรก เชื่อกันว่าในยามที่ท่านไปอยู่ในนรกนั้น ด้วยฤทธานุภาพและบุญญานุภาพของท่าน เป็นอานิสงค์ ให้สัตว์นรกที่กำลังต้องทัณฑ์ทรมานอยู่ ได้พ้นจากความทรมาณเป็นการชั่วคราว .
ตามความเชื่อทางมหายานนั้น ได้มีการบันทึกไว้ว่า พระศรีศากยมุนี ได้ไหว้วานขอให้พระกษิติโพธิสัตว์ ได้ช่วยสั่งสอนชี้แนะพระธรรมแก่สัตว์โลก ในภพภูมิทั้งหก คือ นรก , สัมภเวสี , อสุรกาย ,สัตว์เดรัจฉาน ,มนุษย์ และเทวดา ในช่วงที่เป็นรอยต่อ หลังจากพระศรีศากยมุนีได้ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว และ พระศรีอาริยเมตไตรยังไม่มาโปรด.





วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552

ภาพถ่ายแสงจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

















































































ในบทนี้ ผมได้รวบรวมภาพถ่ายแสงจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ทั้งหลายในประเทศจีน เช่นตามวัดโบราณ ,เขาง่อไบ๊, และภูเขาโบราณอื่น ๆ ทั่วประเทศ
ที่มีคนไปถ่ายได้มาโดยบังเอิญ มาให้รับชมกัน .
ในที่นี้ ผม ไม่ขอออกความเห็นใด ๆ
แล้วแต่วิจารณญานของท่านผู้ชมจะดีกว่า
เพราะ " คำเดียวก็มากเกินไป " ที่จะบรรยาย .

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

ลงพระ

เทวรูป พระพิฆเนศวร์ ,พระคเนศ , พระพิฆเนศวร ,เทพแห่งความสำเร็จ ,เทพแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งปวง เนื้อทองเหลืองเก่า โลหะผสม .

พระพิฆเนศวร์ , พระคเนศ , เทพแห่งความสำเร็จ ,เทพแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งปวง ท่านเป็นเทพที่มีผู้ให้ความเคารพนับถือ ด้วยคุณธรรมประจำองค์ท่านเอง , แม้แต่องค์พระศิวะมหาเทพผู้สร้างและพระบิดาแห่งองค์พระพิฆเนศวร์ยังกล่าวว่า ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใดหรือทำพิธีบูชาใด ให้ทำการบูชาพระพิฆเนศวร์ ก่อนกระทำการทั้งปวง “ผู้ใด ต้องการความสำเร็จ ให้บูชาพระพิฆเนศวร์” “ผู้ใด ต้องการพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง ให้บูชาพระพิฆเนศวร์”


ท่านสามารถอ่านข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเทวรูป พระพิฆเนศวร ,พระพิฆเนศวร์ ,เทพแห่งความสำเร็จ , เทพแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งปวง ได้ที่หน้าบทความ.




DEVA ROOPA , GANESH , THE GOD OF SUCCESS ,OLD BRONZE ALLOY .

GANESH IS THE MOST POPULAR GOD IN THAILAND , BECAUSE OF HIS KINDNESS AND MORALITY ,EVEN THE SIVA GOD ALSO GIVE HIM A VERY HIGH RESPECT AS THE GOD OF SUCCESS & THE GOD OF TROUBLE SHOOTING .


FOR FURTURE INFO. ABOUT DEVA ROOPA , GANESH , PLEASE FIND AT ARTICLE.

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

ภควัทคีตา (๑)


เธอมีสิทธิ์ที่จะทำงานแต่เพียงตามหน้าที่เท่านั้น ,เธอไม่มีสิทธิ์ในผลของงาน
ความปรารถนาในผลของงาน,ไม่ควรเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เธอทำงาน
ในขณะเดียวกัน, ก็ไม่ควรเกียจคร้านที่จะทำงาน
จงปฏิบัติงานทั้งปวงด้วยใจที่ไม่พะวงถึงผลของมัน
จงทำใจยอมรับทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว
การทำใจรับได้เสมอกันเช่นนี้เรียกว่า " โยคะ "
ผู้ที่รู้แจ้งตามความเป็นจริง,ย่อมละวางจากผลของการกระทำ "กรรม"
เขาย่อมหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งการเกิด ,หลุดพ้นจากภาวะแห่งทุกข์ทั้งปวง
ผู้ที่มีใจไม่หวั่นไหวในยามทุกข์ , ไม่หลงระเริงในยามสุข ,
ละแล้วซึ่งความโกรธและความโลภ ,ไม่หลงในราคะ , ไม่หวาดกลัว
เขาผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาตั้งมั่น

ไฉ่ซิงเอี้ย - ท้าวเวสสุวรรณ - เทพเจ้าแห่งโภคทรัพย์ -财神-GOD OF WEALTHY


财神爷 ไฉ่ซิงเอี้ย GOD OF WEALTHY

ไม่โกรธ



โศลก " ไม่โกรธ "

ชีวิตคนเรา....เหมือนละครหนึ่งบท , มีวาสนา...จึงได้มาพบพาน

ได้อยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า...ไม่ใช่เรื่องง่าย , ใย....ไม่รู้คุณค่า

หากโกรธกัน...ด้วยเรื่องเล็กน้อย , ไตร่ตรองดูว่า...เพื่ออะไร

ผู้อื่นโกรธไป ..เราไม่โกรธ , โกรธจนเจ็บป่วย...ได้อะไร

โกรธจนตัวตาย...ใครสมหวัง , ทั้งทำร้ายตัว ... ทั้งเหน็ดเหนื่อย

ไม่ต้องเอาตัว...เทียบกับผู้อื่น , ลูกหลานกลุ้มใจ ... ปล่อยเขาไป

ชีวิตเดิมที ... มีสุขทุกข์ , เพียงทำใจได้ ... ก็สุขใจ

สุดแต่วาสนา


วาสนานั้น เกิดจากใจ
ไม่ว่าจะเป็นไปเช่นไร เราก็หาหวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหว ก็จะไม่มีที่ขัดข้อง
เมื่อไม่ขัดข้อง ก็สุดแต่วาสนา

พระโพธิสัตว์ 1


ภาพพระโพธิสัตว์แห่งแดนตะวันตก

เมื่อเอ่ยพระนามด้วยศรัทธา

ผู้นั้นย่อมสามารถล่วงทุกข์ไปได้


วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประทานพร

หนึ่งเมฆา หนึ่งบุปผา หนึ่งพุทธะ
ทรงประทานพรให้สรรพสัตว์ถึงซึ่ง

สะอาด สว่าง สงบ





วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

กวีธรรม๒



ในบุปผานั้น มีทั้งโลกา

แม้นต้นหญ้าไซร้ ก็มีสรวงสวรรค์

ใบไม้หนึ่งใบ มีพุทธะจิต

แม้นทรายหนึ่งเม็ด ก็มีพระนิพพาน

ในทิศาทั้งสิบ มีแดนอันบริสุทธิ์

แม้นรอยยิ้มนั้น ก็ยังแฝงบุญวาสนา

ปัญญาอันเป็นเอก ท่ามกลางความสงบ

บทกวีธรรมมะ๑


บัวขาวกลาง...บึงน้ำ
ในยามเช้า...อันหนาวเหน็บ
ระยิบระยับ...พร่างพราวแสง
ค่อยเผยอกลีบ...เบ่งบาน

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

เจ้าแม่กวนอิม ตอน ๒




พระมหากรุณาธิคุณในความเมตตาต่อปวงสรรพสัตว์อันไม่มีประมาณ
พระปัญญาคุณในการตัดกิเลสอันได้แก่ความโลภความโกรธความหลงให้สิ้น
พระบริสุทธิคุณในการรักษาศีลและทำจิตให้ผ่องแผ้ว





หนึ่งภาพ หนึ่งโคลง หนึ่งใจ ไร้วาจา




วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

พระสังกัจจายน์

ประวัติโดยย่อของพระสังกัจจายน์ สามารถอ่านได้ในหน้า " พระปิดตา " ในที่นี้จักได้ขยายความเพิ่มเติมจากส่วนก่อนดังนี้
๑.เรื่องการอธิษฐานแปลงรูปของพระสังกัจจายน์
จาก (อรรถกถาธรรมบท) ได้มีเรื่องราวดังนี้ว่า ได้มีบุตรเศรษฐีท่านหนึ่งแห่งเมืองโสเรยยนคร ขื่อ “โสเรยยะ” วันหนึ่งได้เห็น พระสังกัจจายน์ผู้มีรูปงามดุจทองคำ ก็เกิดจิตปฏิพัทธ์หลงใหลรูปกายอันงดงามงามของท่าน จึงคิดอกุศลจิตกำหนดให้ท่านเป็นหญิง แล้วลวนลามทางจิตด้วยความคึกคะนอง ด้วยจิตทีคิดพิเรนทร์ต่อพระอรหันต์สังกัจจายน์มหาเถระเจ้า บุตรเศรษฐีโสเรยยะที่เป็นชาย ก็ได้กลับกลายเป็นเพศหญิง มีอวัยวะของสตรีครบสมบูรณ์ประหนึ่งหญิงแท้ ๆ ด้วยความอับอาย บุตรเศรษฐีโสเรยยะ จึงได้หนีไปอยู่เมืองอื่น จนได้สามีและมีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาภายหลังได้จึงได้กลับมาขอขมาท่านสังกัจจายน์มหาเถระเจ้า จึงได้กลับรูปเป็น ชายตามเดิม แม้แต่อุบาสิกาที่เป็นหญิง ก็มีไม่น้อยที่หลงไหลในรูปกายอันงดงามของท่าน จนเกิดทะเลาะวิวาทเป็นเนือง ๆ จึงเป็นเหตุให้พระสังกัจจายน์ ต้องตัดสินใจอธิษฐานเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นรูปอ้วนพุงพลุ้ย แต่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา
๒.พระสังกัจจายน์ - ทรงเป็นภิกษุที่อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
เดิมท่านเป็นบุตรพราหมณ์ปุโรหิต กัจจายนโคตร ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นได้เรียนจบไตรเพท ครั้นบิดาเสียชีวิตแล้ว ก็ได้รับตำแหน่ง ปุโรหิตแทนบิดา
กาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า ได้บังเกิดพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ขึ้นในโลกแล้ว และเสด็จไปสั่งสอนพระธรรมอันล้ำค่าแก่ประชาชน ธรรมที่พระองค์สั่งสอนนั้นเป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ให้สำเร็จ แก่ผู้ประพฤติปฎิบัติตาม จึงทรงมีพระราชประสงค์จะเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมศาสดา ไปประกาศพระศาสนาที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้ กัจจายนะปุโรหิต ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เรียนจบไตรเพท ไปทูลเชิญเสด็จ ท่านกัจจายนะปุโรหิต ซึ่งมีความศรัทธาในศาสนาพุทธอยู่เป็นทุนเดิม จึงถือโอกาสทูลลาบวชด้วย ครั้นได้พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกจากกรุงอุชเชนี พร้อมด้วยบริวาร 7 คน รอนแรมมาถึงยังที่ประทับของพระบรมศาสดา ก็พากันเข้าเฝ้า ฟังพระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาสั่งสอน ในที่สุดทั้ง ท่านกัจจายนะ และบริวารทั้ง 7 ก็ได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมกัน แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดา ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ท่านพระสังกัจจายน์มหาเถระ จึงทูลเชิญอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เสด็จโปรด ชาวอุชเชนี ตามพระประสงค์ของ พระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดารับสั่งว่า" ท่านไปเองเถิด เมื่อไปแล้ว พระจัณฑปัชโชต และชาวเมืองจะเลื่อมใส " ด้วยเหตุนี้ พระสังกัจจายน์มหาเถระ จึงถวายบังคมลาเดินทางกลับ สู่กรุงอุชเชนี แล้วจึงได้บรรยายธรรมประกาศพระพุทธศาสนาให้ พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองเกิดความเลื่อมใส ปวารณาตัวเป็นพุทธมามกะ แล้วกลับคืนมายังสำนักพระบรมศาสดา สมดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้ทุกประการ
๓.พระสังกัจจายน์ -ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอกทัคคะในการขยายความธรรมมะ
ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตร แต่โดยย่อท่ามกลางคณะสงฆ์ โดยแสดงธรรมว่า
" ผู้มีปัญญาไม่ควรคิดตาม คิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ,ไม่ควรจะมุ่งหาสิ่งที่ยังมาไม่ถึง , เพราะว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว , สิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ไม่ได้ไม่ถึง, ผู้ใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้งรู้ธรรมนั้นแล้ว พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจักมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชที่มีเสนาใหญ่นั้นไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ เรียกว่า ผู้มีราตรีเดียว"
ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จลุกไปสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่เข้าใจ และไม่มีโอกาสที่จะทูลถาม ความที่พระองค์ตรัสโดยย่อ นั้นให้กว้างขวางได้ จึงอาราธนาขอให้ พระสังกัจจายน์อธิบายให้ฟัง
ในกาลนั้นพระสังกัจจายน์ท่านอธิบายความว่า "ท่านผู้มีอายุ เรารู้ความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อนั้นตามความพิสดารว่า เมื่อบุคคลคิดว่า ในกาลล่วงแล้ว ตากับรูป ,หูกับเสียง, จมูกกับกลิ่น, ลิ้นกับรส, กายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ,ใจกับอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรามีแล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ เพราะวิญญาณ อันความกำหนัดพอใจ ผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ,ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า คิดตามถึงสิ่งทึ่ล่วงมาแล้ว "
"ไม่คิดอย่างนั้นความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ก็ไม่ผูกพันวิญญาณได้ , ผู้นั้นก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ , ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่คิดตามถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว"
"บุคคล ผู้ตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้ ในสิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้า นัยน์ตากับรูป เป็นต้น ของเราจะเป็นอย่างนี้ ,เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัย ,ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ , ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า มุ่งหมาย สิ่งที่ยังมาไม่ถึง "
"บุคคลผู้ไม่ได้ตั้งจิตเพื่อจะหมายสิ่งใด สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น ก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ,ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่มุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้ว"
"นัยน์ตากับรูปอย่างละสองอันใด เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ,ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ผูกพันวิญญาณไว้แล้ว , บุคคลก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ , ผู้เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดเฉพาะหน้า "
"ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้ ,บุคคลก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า "
"ท่านผู้มีอายุ เราเข้าใจในเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อ ตามความพิสดารอย่างนี้ , ถ้าท่านทั้งหลายประสงค์ ก็จงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามความนั้นเถิด พระองค์ทรงเล่าอย่างไร จงจำไว้อย่างนั้นเถิด " ภิกษุเหล่านั้น ได้พากันลา พระสังกัจจายน์ มาเข้าเฝ้าพระศาสดาทูลความนั้นให้ทรงทราบ พระองค์จึงทรงตรัสสรรเสริญ พระสังกัจจายน์ ว่า "ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะเป็นผู้มีปัญญา , ถ้าท่านถามความนั้นกับเรา แม้เราก็คงเล่าเหมือนกัจจายนะ เล่าอย่างนั้น ความของธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้น อย่างนั้นแล ท่านทั้งปวงจำไว้เถิด " ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงได้รับ การยกย่องจากพระศาสดาว่า พระสังกัจจายน์ ทรงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย เป็นเอกทัคคะในการอธิบายความย่อให้พิสดาร
๔.พระสังกัจจายน์ ทูลขอพุทธานุญาต ให้แก้ไขพระธรรมวินัย
พระสังกัจจายน์
ผู้ทรงปัญญาและมีความกล้าหาญ - ธรรมวินัยใด ที่ขัดต่อภูมิประเทศ ไม่สะดวกที่สงฆ์จะปฏิบัติตาม ได้ยังความลำบากแก่การปฏิบัติแล้ว ท่านก็จะทูลชี้แจง ขอพุทธานุญาต ให้แก้ไขให้เหมาะสม ให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
เช่นครั้งหนึ่งท่านไปพำนักแสวงหาวิเวกอยู่ ณ. ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุธฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท อุบาสกผู้เป็นอุปัฎฐากของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า โสณกุฎิกัณณะ มีความประสงค์จะบวชในธรรมวินัย แต่ก็ยังบวชไม่ได้ ได้แต่เพียงแต่บรรพชาเป็นสามเณรเท่านั้น เวลาล่วงไปถึง 3 ปี จึงมีโอกาสอุปสมบทได้ เพราะในอวันตีทักขิณาปถชนบทนั้น หาภิกษุเป็นคณะครบองค์ไม่ได้ (10 รูปขึ้นไป)
เมื่อท่านโสณกุฏิกัณณะอุปสมบทแล้ว มีความปรารถนาจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงไปลาพระสังกัจจายน์ ผู้อุปัชฌาย์ ท่านจึงอนุญาตแล้ว สั่งให้ไปถวายบังคมพระบาทตามคำของท่าน โดยให้ทูลขอให้พระพุทธองค์องค์ ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ซึ่งขัดต่ออวันตีชนบท 5 ข้อ ด้วยกันคือ
๑.ในอวันตีทักขิณาปถชนบทมีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะน้อยกว่า 10 รูป ซึ่งก็ได้รับการอนุญาตให้เหลือเพียง 5 รูป
๒.เนื่องด้วยในชนบททั่วไป มีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ไม่สะดวกต่อการเดินทาง ,พระภิกษุในชนบทได้รับความลำบากมากนัก ขอพุทธานุญาตให้ภิกษุใส่รองเท้าเป็นชั้น ๆ ในชนบทชายแดนได้ พระองค์ก็ทรงอนุญาต
๓.พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขออนุญาตพระภิกษุอาบน้ำเป็นนิตย์เถิด พระองค์ก็ทรงอนุญาติ
๔.ในชนบทนั้นมีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังแพะ หนังแกะบริบูรณ์ดีในชนบทหาได้ง่ายกว่าอย่างอื่น ขอให้ภิกษุใช้หนังแพะ หนังแกะเป็นเครื่องลาดได้ในชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตตามนั้น
๕.ในการที่มนุษย์ถวายผ้าจีวรแก่ภิกษุก็เช่นกัน เมื่อภิกษุไม่อยู่เขามาถวายฝากไว้ เมื่อเธอกลับมา ภิกษุที่ รับฝากไว้แจ้งให้เธอทราบ เธอรังเกียจไม่ยินดีรับ เพราะล่วง 10 ราตรีแล้ว เข้าใจว่าเป็นอาบัตินิสสัคคิยะ จำต้องสละผ้านั้น เป็นการลำบากสำหรับชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตว่า เราอนุญาต ให้พระภิกษุรับผ้าที่เขาถวายลับหลังได้ ผ้ายังไม่ถึงมือเธอเมื่อใด จะถือว่าเธอมีสิทธิ์เต็มที่ไม่ได้ตราบนั้น

๕. พระสังกัจจายน์ - เรื่องความเสมอภาคแห่งวรรณะทั้ง ๔
เมื่อครั้ง พระสังกัจจายน์อยู่ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร เสด็จไปหา แล้วตรัสว่า " ข้าแต่ท่าน พระกัจจายนะ ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ถือว่า พวกเขาเป็นผู้ประเสริฐบริสุทธิ์เกิดจากพรหม ท่านเข้าใจว่าอย่างไร ? "
พระสังกัจจายน์ ทูลตอบว่า วรรณะสี่เหล่าไม่ต่างกันดังนี้
"ในวรรณะสี่ เหล่านี้ วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งคั่ง ไม่ว่าวรรณะเดียวกันหรือวรรณะอื่น ย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรรณะนั้น ,
วรรณะใดประพฤติ อกุศลกรรมบท เบี้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่ อบาย เสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ,
วรรณะใดประพฤติ กุศลกรรมบท เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เหมือนกันหมด,
วรรณะใดทำ โจรกรรม ประพฤติล่วงเมียคนอื่น วรรณะนั้นต้องรับ อาชญา เหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น,
วรรณะใด ออกบวช ตั้งอยู่ในศีลธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับ ความนับถือ และได้รับ บำรุงและได้รับ คุ้มครองรักษาเสมอ กันหมดฯ "
ครั้นพระเจ้ามธุรราช ได้สดับแล้วก็เกิดความเลื่อมใส แสดงองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถระเจ้า กับ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ , พระเถระทูลห้ามว่า อย่าถึงท่านเป็นสรณะเลย , จงถึงพระผู้มีพระภาคผู้เป็นสรณะ ของอาตมาภาพ เป็นสรณะเถิด.
พระเจ้ามธุรราช ตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ,พระสังกัจจายน์ท่านทูลว่า พระผู้มีพระภาพเจ้า ปรินิพพานเสียแล้ว ,พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาพเจ้าประทับอยู่ที่ใด แม้ใกล้ไกลเท่าใด พระองค์คงจักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้, แต่เมื่อพระผู้มีพระภาพเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว , ข้าพระองค์ ขอถือพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานไปแล้วกับ พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง .

พระมหากัจจายน์ หรือพระสังกัจจายน์ ท่านเป็นผู้มีบุญญาบารมีอภินิหาร ทรงมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมเป็นที่รักใคร่แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย โบราณจารย์ท่านให้สวดคาถาบูชาระลึกถึงบารมีคุณของพระสังกัจจายน์ทุก ๆ วัน จะเกิดสิริมงคล เป็นที่รักใคร่แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีโชคลาภอยู่เสมอมิได้ขาด มีความสุขเจริญรุ่งเรืองด้วยโภคทรัพย์และทรัพย์สมบัติทั้งปวง จึงได้อัญเชิญพระคาถาบูชาพระสังกัจจายน์มาดังนี้
กัจจายนะจะ มหาเถโร พุทโธ พุทธานัง
พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา สิตัง
พุทธะตัง สะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง
ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม
ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง
สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา
ราชาภาคินี จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ


วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

ข้อความลงในหมวดเกี่ยวกับเรา



สวัสดีครับ

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

ผมอยู่ในจังหวัดเล็ก ๆ แห่งหนึ่งทางภาคเหนือ

ที่ ๆ ทุกอย่างดูจะสบาย ๆ , ที่นี่... อากาศเย็นสบายเกือบทั้งปี

แม้จะเกิดมาพร้อมกับใฝที่อุ้งเท้าประมาณ ๙ เม็ด (เพื่อนบอก)

ทำให้ชีวิตต้องเดินทางไปๆ มา ๆ , ไม่เคยได้อยู่นิ่งกับที่นาน ๆ เหมือนชาวบ้าน , และหมอ
ดูหลายท่านว่า ชีวิตนี้ต้องเดินทางจึงจะรุ่ง , แม้จะไม่ค่อยเชื่อพ่อหมอแม่หมอ ทั้งหลาย ,
แต่ก็มีเหตุให้ต้องขับรถตระเวณไปทั่ว เหนือ-ใต้-อิสาน-และภาคกลาง มาแล้ว . จนในที่
สุด ตอนนี้แม้จะเริ่มชราภาพแล้ว ,ก็ยังต้องมารับจ้างเดินทางไปกินข้าวกับชาวบ้าน . เลย
เป็นเหตุให้ได้มีโอกาศได้พบเจอกับเหตุการณ์พิเศษ ๆ มากมาย มีทั้งได้เจอคนที่น่ารัก ให้
ความเป็นเพื่อน ช่วยเหลือกันในยามยาก หรือ บางคนที่หันเอาด้านมืดของปัญญาและ
อารมณ์มาให้ก็มี , จนมีเพื่อนมาบอกให้แต่งนิยายขาย . แต่มาดูแล้วตัวเองคงไม่มีฝีมือ
ทางขีด ๆ เขียน ๆ ประกอบกับระหว่างการเดินทาง ในยามว่างก็ชอบแวะเข้าวัดเข้าวา หา
พระหาเจ้าทำบุญ ไป ๆมาๆ ก็เลยมาสะสมพระเครื่องแบบจับพลัดจับผลู ทั้ง ๆ ที่เคยเลิก
ห้อยพระมาเกือบ ๒๐ ปี , แต่เมื่อถึง"เวลา" และได้มีประสบการณ์จริงจากชีวิตตัวเองและ
สังเกตุจากคนรอบข้าง ที่กลายมาเป็นเหตุปัจจัย ให้กลับมาศึกษาหลักธรรมของศาสนา
พุทธ ให้ลึกซึ้งขึ้น ยิ่งเมื่อได้เริ่มปฏิบัติกับตัวเองแล้ว ก็ยิ่งเป็นที่ประจักษ์ว่า หลักธรรม
ของศาสนาพุทธนั้น สามารถนำมาใช้ได้กับชีวิตประจำวัน ทั้งในการดำเนินชีวิตทั่วไป ,
การคบหาสมาคมกับผู้อื่น , หรือแม้ในการประกอบกิจการงาน ต่างก็หนีไม่พ้น
หลัก"ธรรม" ทั้งสิ้น .
การเปิด " พระเครื่องเอเซีย , asiamulet.net " ก็ ด้วยหวังว่าจะเป็นช่อง
ทาง ให้พี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ที่สนใจในเรื่องของพระเครื่อง , เครื่องราง , ตะกรุด , เครื่อง
ประดับ ,ของสะสม , ของโบราณ ได้มีโอกาสเข้ามาพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้และ
ประสบการณ์ ทั้งในส่วนของไทย และส่วนของต่างประเทศ ( มหายาน ) , โดยเฉพาะ
ในส่วนของมหายานนั้น ผมก็ได้พยายามรวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้มากที่สุด
เท่าที่จะทำได้ , หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่องไป ก็หวังว่าท่านผู้รู้จะได้ช่วยชี้แนะด้วย จัก
เป็นพระคุณอย่างยิ่ง .
ท้ายที่สุด หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์และความสุข ในการเข้าเยี่ยมชม
พระเครื่องเอเซีย asiamulet.net ตามสมควร . และหากท่านต้องการสอบถามราย
ละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อทาง E-MAIL : asiamulet@gmail.com หรือทิ้งข้อ
ความของท่านได้ในหน้า " ติดต่อเรา" หรือ โทร : 081- 4726519 หวังว่าจะได้มีโอกาส
รับใช้ทุกท่านครับ .

เครื่องรางของขลัง

เครื่องรางของขลัง คือสิ่งที่มนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณ มีความเชื่อว่าเมื่อพกติดตัวแล้ว จะสามารถให้ความคุ้มครองจากภัยอันตรายที่เกิดจากธรรมชาติ หรือ คุ้มครองให้ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ,อุบัติเหตุ ,สัตว์ร้าย , การศึกสงคราม และสามารถนำมาซึ่งโชคดี เสน่ห์ ,เมตตามหานิยม ,ทำให้ชีวิตมีความสำเร็จ ความราบรื่น ความร่ำรวย และความเจริญรุ่งเรือง ตลอดจน ให้มีผู้หลักผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือ. เครื่องรางของขลังจึงเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในแทบจะทุกความเชื่อ ,ศาสนา และ วัฒนธรรม . ดังที่มีการพบเครื่องรางของขลังอยู่ในอารยธรรมใหญ่ ๆ ของโลกทั้งจีน ,อินเดีย,อียิปต์,กรีก,โรมัน,อินคา,อินเดียนแดง เป็นต้น . เครื่องรางของขลัง มีทั้งได้จากสิ่งที่หาได้ยากในธรรมชาติ เช่น คดงาช้าง,เพชรตาแมว,กำจัดกำจาย,เหล็กไหล,ไข่มุกราตรี,ว่านต่าง ๆ และทั้งที่ได้จากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ผ่านการคัดเลือกวัสดุตั้งต้น และพิธีกรรม หรือ การสวดมนต์ หรือเข้าทรง เพื่อจะทำการประจุพลังอำนาจพิเศษของเทพเจ้า หรือ พุทธคุณเข้าไปในเครื่องรางของขลังนั้น . โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอารยธรรมหรือในยุคสมัยใดที่อยู่ในช่วงของการศึกสงคราม ก็จะเป็นยุคที่เครื่องรางของขลังมีความเฟื่องฟูแพร่หลายเป็นที่สุด เพราะการสร้างเครื่องราง ใด ๆก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ ผู้ที่จะทำการสร้างเครื่องราง จะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจจิตกล้าแข็ง หรือมีคุณวิเศษ หรือสำเร็จฌาณสมาบัติในระดับหนึ่งแล้ว จึงจะสามารถสร้างเครื่องรางให้มีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครอง หรือสำเร็จประโยชน์แก่ผู้พกพาได้ตามต้องการ. ทั้งในการสร้างก็จะต้องมีการกำหนดฤกษ์ยามที่จะสร้าง และ พิธีกรรม และ วิธีกรรม ตลอดจนการทดสอบเมื่อทำเสร็จ ว่า มีความศักดิ์สิทธิ์จริง .
ตาม (คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ โดย อาจารย์ญาณโชติ) ได้กล่าวไว้ว่า " การลงอักขระเลขยันต์ในสิ่งของต่าง ๆ ได้แก่ แผ่นเงิน ,ทอง ,นาค,ทองแดง,ตะกั่ว,ผ้าขาว,ผ้าแดง,กระดาษ,ใบลาน โดยบรรจุพลังเวทย์มนต์คาถาลงไว้ให้มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นศิริมงคล และ ป้องกันอันตราย เรียกว่า เครื่องรางของขลัง ซึ่งมี ตะกรุด ,พิศมร ,มงคล,ผ้าประเจียด,พิรอด,ลูกสกด,เบี้ยแก้ ,มีดหมอ ,กฤช,สีผึ้ง เป็นต้น
การพกพาเครื่องราง มีวิธีในการพกพาเครื่องรางได้หลายวิธี เครื่องรางบางชนิด ใช้สำหรับคาด หรือ สวม หรือ พก ไว้ภายนอกร่างกาย เช่น ตะกรุด ,เบี้ยแก้,มีดหมอ,พิรอด. เครื่องราง บางชนิดก็ใช้ฝังเข้าไปในร่างกายเลย เช่น เข็มทอง ,เหล็กไหล ,ตะกรุดทอง . เครื่องราง บางชนิดก็ใช้อมในปาก เช่น ลูกอม ,ตะกรุดลูกอม ,พระเครื่องเป็นต้น.

เบญจภาคีเครื่องรางของขลัง
1. ตะกรุดมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
2. เบี้ยเเก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง
3. ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
4. เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (คลองด่าน)
5. หนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

๙ เครื่องรางของขลังอันทรงคุณค่าเลื่องลือมาแต่โบราณ
" หมากดีที่วัดหนัง ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง ไม้ครูอยู่คู่วัดอินทร์ ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์ พิสมรวัดพวงมาลัย ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง ราหูคู่วัดศรีษะฯ เเหวนอักขระวัดหนองบัว ลูกเเร่ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน เก้าสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา ติดกายยามยาตรา ภัยมิกล้ามาเเพ้วพาน"